ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
เลือกใช้สายไฟให้ถูกประเภท เพื่อความปลอดภัย

เลือกใช้สายไฟให้ถูกประเภท เพื่อความปลอดภัย


          เป็นที่ทราบกันดีว่าระบบไฟฟ้าภายในบ้าน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ให้แสงสว่าง ล้วนแล้วแต่ทำงานด้วยไฟฟ้า โดยมีสายไฟเป็นสื่อกลางส่งผ่านพลังงานไฟฟ้า หรือสัญญาณไฟฟ้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ซึ่งถ้ามองด้วยตาเปล่าแล้ว เราอาจจะมองไม่เห็นถึงความแตกต่างของสายไฟ เพราะมันค่อนข้างคล้ายกันหมด จุดสังเกตที่พอจะเห็นได้ คือความหนา และวัสดุที่ใช้ในการผลิตที่แตกต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว สายไฟมีหลายประเภทให้ได้เลือกใช้งาน แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน พี่ไทจึงนำวิธีการเลือกใช้สายไฟภายในบ้านให้ถูกประเภท มานำเสนอในบทความนี้ครับ

          โดยสายไฟแต่ละชนิดจะได้รับการออกแบบให้แตกต่างกันออกไป ตามโครงสร้างภายใน และคุณสมบัติในการใช้งาน ดังนี้
          • สายไฟที่ประกอบด้วย ตัวนำไฟฟ้าเพียงอย่างเดียว
          • สายไฟที่ประกอบด้วย ฉนวนหุ้มตัวนำไฟฟ้า
          • สายไฟที่ประกอบด้วย เปลือกหุ้มหรือชั้นป้องกัน

          จะเห็นได้ว่าภายในสายไฟจะประกอบด้วยโครงสร้างทั้งหมด 3 ชั้น นั่นก็คือ ตัวนำ, ฉนวน และเปลือก แต่ละชั้นทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้
          ตัวนำไฟฟ้า ทำหน้าที่ส่งผ่านกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไปยัง Load (เครื่องใช้ไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่นำมาต่อกับแหล่งจ่ายไฟ) ซึ่งตัวนำไฟฟ้านี้ ทำจากโลหะที่มีค่าความต้านทานไฟฟ้าต่ำและมีค่าความนำไฟฟ้าสูง ซึ่งโลหะที่นิยมใช้ทำเป็นตัวนำไฟฟ้าได้แก่ ทองแดง และอลูมิเนียม
          ฉนวน ทำหน้าที่ห่อหุ้มตัวนำไฟฟ้า ไม่ให้มีกระแสไฟฟ้ารั่วออกมา เป็นการลดอันตรายจากการสัมผัสโดยตรง ป้องกันไฟรั่ว และไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้น วัสดุที่ใช้ทำฉนวน จึงมักจะผลิตจากพลาสติกโพลีเมอร์หรือยาง ซึ่งมีคุณสมบัติทนความร้อน ช่วยป้องกันไม่ให้ไฟฟ้ารั่วไหล
          เปลือกนอก อยู่ชั้นนอกสุดของสายไฟฟ้า ทำหน้าที่ห่อหุ้มทั้งตัวนำไฟฟ้าและฉนวน ป้องกันความเสียหายจากสภาพแวดล้อมต่าง ๆ เช่น การขูดขีด สภาพอากาศ การกัดกร่อนจากสภาพแวดล้อมรอบข้าง

          สายไฟที่ใช้ตามอาคารบ้านเรือนที่เราเห็นกันอยู่ทุกวัน จะอยู่ในประเภทของสายไฟแรงดันต่ำ โดยในประเทศไทยสายไฟแรงดันต่ำจะต้องเป็นไปตามมาตรฐาน มอก.11-2553 ซึ่งเปลี่ยนจากมาตรฐานเดิมคือ มอก.11-2531 เพื่อต้องการให้สายไฟที่ใช้กันในภาคอุตสาหกรรม และครัวเรือน มีมาตรฐานที่ตรงกับมาตรฐานของ IEC 60227 ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก และรวมไปถึงการสร้างมาตราฐานให้กับประเทศที่อยู่ในกลุ่ม AEC ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ดังนั้น มาตรฐาน มอก.11-2553 จึงเป็นสิ่งแรกที่เราต้องทำการสังเกตุก่อนเลือกซื้อสายไฟ เพื่อความปลอดภัยแก่ช่างไฟฟ้า และผู้อยู่อาศัย ซึ่งตามมาตรฐานแล้วสายไฟแรงดันต่ำจะแบ่งเป็นประเภทตามขนาด ความทนแรงดันไฟ และการใช้งานได้ดังต่อไปนี้

1. สายไฟไอวี (IV)

          สายชนิดนี้เป็นสายเดียว หรือที่เรียกกันว่าสายแกนเดี่ยว สามารถทนแรงดันไฟได้ 300 โวลต์ นิยมใช้งานเป็นสายเดินไฟจากนอกบ้านสู่ในบ้าน หรือภายในอาคารที่พักอาศัย ใช้งานได้กับระบบ 1 เฟสเท่านั้น ถ้าเดินสายไฟแบบเปิดให้เห็นสายไฟเป็นเส้น ๆ แนบไปกับผนัง หรือที่เรียกกันว่าเดินสายไฟแบบลอย จะต้องทำการยึดด้วยวัสดุที่เป็นฉนวน หรือเดินสายไฟในสถานที่แห้ง และห้ามเดินสายไฟด้วยการฝังดินโดยเด็ดขาด

สายไฟ IV ยี่ห้อ BCC

สายไฟ BCC รุ่น 60227IEC 05 (IV) 1x1.0 Sq.mm. ขนาด 100 ม. สีน้ำเงิน


2. สายไฟวีเอเอฟ (VAF)

          เป็นสายชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์ มีทั้งชนิดเป็นสายเดี่ยวสายคู่ และชนิดที่มีสายดิน ถ้าเป็นสายเดี่ยวจะเป็นสายกลมและถ้าเป็นชนิด 2 แกนหรือ 3 แกนจะเป็นสายแบน ภายในสายไฟนอกจากจะมีฉนวนหุ้มตัวนำแล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นเพิ่มความปลอดภัยให้มีมากยิ่งขึ้น โดยส่วนมากแล้วจะนิยมเดินตามฝาผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย หรือที่ภาษาช่างเรียกกันว่าการเดินสายไฟแบบตีกิ๊บ สายวีเอเอฟห้ามเดินฝังดินโดยตรง ต้องเดินในท่อฝังดินอีกชั้น เพื่อป้องการน้ำซึมถึงจะปลอดภัยที่สุด

สายไฟ VAF ยี่ห้อ NNN

สายไฟ (ตัดขายเป็นเมตร) NNN รุ่น VAF ขนาด 2 x 1.5 ตร.มม. สีขาว


3. สายไฟเอชดับเบิลยู (THW)

          เป็นสายเดี่ยว สำหรับใช้เดินสายไฟภายในอาคารและใช้งานทั่วไป สามารถใช้เป็นสายไฟในบ้านได้ และยังนิยมใช้กันในโรงงานอุตสาหกรรมอีกด้วย เพราะสายไฟชนิดนี้สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ 750 โวลต์ และนำไปใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 เฟสได้ โดยส่วนมาแล้วเดินสายไฟแบบลอยและใช้ตัวยึดที่ทำจากวัสดุที่เป็นฉนวนเสริมความปลอดภัย หรือเดินสายไฟในท่อแล้วฝังดินเพื่อป้องกันน้ำซึม แต่ห้ามฝังดินโดยตรงเช่นเดียวกันกับสายวีเอเอฟ

สายไฟ IEC ยี่ห้อ NNN

สายไฟ (ตัดขายเป็นเมตร) NNN รุ่น IEC 01 THW ขนาด 1 x 10 ตร.มม. สีดำ


4. สายไฟวีเคเอฟ (VKF)

          เป็นสายไฟที่มีฉนวนสองชั้น จึงมีความปลอดภัยสูง สามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขนาด 25A 300-500 โวลต์ มีคุณสมบัติกันน้ำ จึงใช้งานได้ในพื้นที่เปียก (แต่ไม่ควรแช่สายไฟในน้ำ) สายไฟชนิดนี้เป็นสายไฟชนิดอ่อน สามารถปรับเปลี่ยนหรือหักงอรูปทรงให้เหมาะสมกับการใช้งานได้ เนื้อฉนวนหุ้มสายไฟเหนียว ไม่ทำให้ภายในฉีกขาด เสริมการใช้งานได้อย่างปลอดภัย

สายไฟ VKF ยี่ห้อ NNN

สายไฟ NNN รุ่น IEC 52 VKF ขนาด 2 x 0.5 ตร.มม. ยาว 100 เมตร สีขาว


5. สายไฟเอ็นวายวาย (NYY)

          เป็นสายไฟที่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และทนแรงดันไฟฟ้าได้ 750 โวลต์ เช่นเดียวกันกับสายทีเอชดับเบิลยู แต่ความแตกต่างก็คือสายไฟแบบเอ็นวายวาย มีทั้งแบบแกนเดียว และหลายแกน และมีแกนสายดินรวมอยู่ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นสายที่มีเปลือกหุ้มอีกชั้น จึงสามารถป้องกันความเสียหายได้เป็นอย่างดี ทำให้เดินสายไฟลงดินได้เลยไม่จำเป็นต้องร้อยท่อแต่อย่างใด

6. สายไฟวีซีที (VCT)

          ตัวสายไฟมีลักษณะกลม แต่โดยรวมมีคุณสมบัติคล้ายกับสายเอ็นวายวาย แต่ภายในของสายวีซีทีนั้นถูกประกอบขึ้นมาจากสายทองแดงฝอยเส้นเล็ก ๆ หลายเส้นรวมตัวกันเป็นแกน จึงส่งผลให้สายมีความอ่อนตัว ดัดไปมาได้สะดวก และทนต่อการสั่นสะเทือนจึงเหมาะกับเครื่องจักรที่มีการสั่นสะเทือนขณะทำงาน และเป็นสายที่ต่อลงดินได้เลยเช่นเดียวกัน

สายไฟ VKF ยี่ห้อ NNN

สายไฟ (ตัดขายเป็นเมตร) NNN รุ่น IEC 53 VCT ขนาด 2 x 2.5 ตร.มม. สีดำ


          สายไฟที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้มีหลากหลายประเภท โครงสร้างภายในสายไฟก็แตกต่างกันออกไปให้ได้เลือกใช้งาน ทีนี้ก็ได้ทราบเบื้องต้นแล้วว่า สายไฟแบบใด เหมาะกับพื้นที่การใช้งานแบบใด เลือกให้เหมาะสมกับการใช้งานนะครับ แต่ถึงอย่างไรก็ตามถ้ายังไม่แน่ใจ ไม่มั่นใจ หรือมีข้อสงสัยแม้แต่เพียงนิดเดียว แนะนำให้ปรึกษากับช่างไฟผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน อย่าเสี่ยงใช้งานแบบไม่มีความรู้ ได้ไม่คุ้มกับเสียแน่นอน

ขอบคุณภาพจาก: eprmagazine.com, uk.rs-online.com

• เลือกช้อปสายไฟ ครบ ถูกและดี ได้ที่หน้าร้าน และหน้าเว็บ คลิก

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สินค้าแนะนำ