ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
ไม้อัด
รายการที่ 1 - 40 จาก 40 รายการ
ไม้ MDF ทนชื้น 15 มม. เมโทร รุ่น HMR-15 ขนาด 120 x 240 ซม. สีเขียว (HMR)
-12%
METRO
ไม้ MDF ทนชื้น 15 มม. เมโทร รุ่น HMR-15 ขนาด 120 x 240 ซม. สีเขียว (HMR)
รหัสสินค้า: 60375340
฿
฿681
599
/EACH
compare
ไม้ MDF ทนชื้น 9 มม. เมโทร รุ่น HMR-9 ขนาด 120 x 240 ซม. สีเขียว (HMR)
-14%
METRO
ไม้ MDF ทนชื้น 9 มม. เมโทร รุ่น HMR-9 ขนาด 120 x 240 ซม. สีเขียว (HMR)
รหัสสินค้า: 60375339
(1)
฿
฿451
385
/EACH
compare

ไม้อัด

นอกจากไม้แท้ที่ทุกคนพบเห็นหรือนิยมนำมาใช้ในงานก่อสร้าง งานตกแต่งต่อเติมภายใน งานทำเฟอร์นิเจอร์แล้ว ยังมีไม้อีกรูปแบบหนึ่งที่เป็นนวัตกรรมใหม่ถูกคิดค้นพัฒนาขึ้น นั่นก็คือ ไม้อัด โดยมีการเพิ่มคุณสมบัติบางอย่างไม่ว่าจะเป็นการกันความชื้นได้มากขึ้น เพิ่มความยืดหยุ่น เป็นต้น เพื่อนำมาใช้แทนไม้แท้ในบางงานก่อสร้าง อีกทั้งยังช่วยรักษาทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม้อัดยังแบ่งออกเป็นหลายประเภทด้วยกัน เรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าว่าไม้อัดมีกี่ประเภทกันบ้าง 

ไม้อัดคืออะไร 

ไม้อัด คือ การนำเศษไม้ชนิดต่าง ๆ จากการเลื่อย การฝานเป็นชิ้นเล็กต่าง มาประสานด้วยกาวชนิดพิเศษและเข้าสู่เครื่องอัดให้แน่นติดกันเป็นแผ่นและนำไปปิดหน้าผิวด้วยวัสดุต่าง ๆ เช่น กระดาษ เมลามีน หรือแผ่นไฮเพรสเชอร์ลามิเนตมีลวดลายเสมือนไม้จริง ที่นิยมใช้ในงานเฟอร์นิเจอร์ งานบิวท์อิน งานสถาปัตยกรรม เป็นต้น 

ไม้อัด มีกี่ประเภท 

หลังจากที่ทราบกันข้างต้นแล้วว่าไม้อัดคืออะไร มีกระบวนการการผลิตพื้นฐานอย่างไร ต่อไปเรามาทำความรู้จักไม้อัดแต่ละประเภทกันบ้างดีกว่าว่าจะมีข้อดี ข้อเสีย และเหมาะกับการนำไปใช้งานอย่างไรบ้าง 
  • ไม้อัดปาร์ติเกิล (Particle Board) : มีกระบวณการผลิตโดยการนำเศษชิ้นไม้ ขี้เลื่อย หรือเศษวัสดุเหลือใช้ของไม้ต่าง ๆ มาอัดประสานกันด้วยกาวประสาน ก่อนจะนำมาทำการบดอัดด้วยความดันสูงจนเป็นแผ่นและนำไปปิดผิวด้วยวีเนียร์ นิยมนำไปใช้งานเฟอร์นิเจอร์แบบน็อคดาวน์ หรือเฟอร์นิเจอร์ที่สามารถถอดประกอบได้เป็นหลัก  
    • ข้อดี : มีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวกลวดลายสวยเป็นธรรมชาติเนื่องจากชิ้นไม้จริงในการทำไม้อัด ราคาย่อมเยาเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการคุมงบประมาณและสามารถง่าย ตกแต่งทาสีได้หลากหลายตามความต้องการ
    • ข้อเสีย : หากนำไปเทียบกับไม้อัดประเภทอื่น ๆ ไม้อัดปาร์ติเกิลจะมีความแข็งแรงที่น้อยกว่า ไม่ทนต่อความชื้น และไม่ป้องกันปลวก มด หรือแมลงเท่าไหร่นัก เพราะมีเนื้อไม้ที่ไม่แน่นหนา มีโพรงอากาศจำนวนมาก เพราะเช่นนี้ในการเลือกเฟอร์นิเจอร์หรือวัสดุที่ทำจากไม้อัดปาติเกิลจึงควรหลีกเลี่ยงการตั้งวางบริเวณภายนอกและบริเวณที่มีความชื้น หรือแสงแดดส่องโดยตรง รวมถึงควรมีการทาสีป้องกันแมลงต่าง ๆ ร่วมด้วย 
  • ไม้อัด MDF (Medium Density Fiber Board) : เป็นไม้อัดความหนาแน่นปานกลาง ผลิตโดยการนำชิ้นไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ไม้ยูคาลิปตัส ไม้ยางพารา หรือไม้เบญจพรรณอื่น ๆ มาสับหรือบดจนละเอียด และผสมกับกาวชนิดพิเศษ ก่อนจะนำเข้าสู่กระบวนการอัดเป็นแผ่นด้วยเครื่องอัดไม้ที่มีแรงอัดสูงมาก พร้อมขั้นตอนสุดท้ายคือการนำไปปิดผิวด้วยเมลามีน แผ่นไฮเพรสเชอร์และลามิเนต นิยมนำไปใช้ในงานตกแต่งภายใน ไม่ว่าจะเป็นบิวท์อินภายใน ตู้เสื้อผ้า ชั้นวางของ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น 
    • ข้อดี : มีเนื้อแน่น ไม่มีรูพรุน มีความเรียบเนียน ขึ้นรูปหรือปรับแต่งรูปทรง และทำสีได้ง่าย ทำให้นำไปใช้งานโดยเฉพาะการทำบิวท์อินได้สวยงาม อีกทั้งยังทนความชื้นได้ดีระดับหนึ่ง
    • ข้อเสีย : บางผู้ผลิตอาจมีกลิ่นแรงของกาวหรือสารเคมี และถึงแม้ไม้อัด MDF จะทนความชื้นได้ดีระดับหนึ่งอย่างที่กล่าวข้างต้นแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะนำไปติดตั้งใช้งานบริเวณภายนอก ใต้แอร์ ห้องครัว ห้องน้ำได้ เพราะเสี่ยงต่อการบวมพอง 
  • ไม้อัด HDF (High Density Fiber Board) : เป็นไม้อัดที่มีความหนาแน่นปานกลางแต่จะมีความหนาแน่นที่สูงกว่าไม้อัด MDF จึงมีความแข็งแรงและความทนทานมากขึ้น ถูกสร้างขึ้นโดยการทำลายเส้นใยไม้ยูคาลิปตัสรวมกับขี้ผึ้งและเพิ่มสารยึดเกาะเรซิน จากนั้นนำไปเข้าสู่กระบวนการบีบอัดส่วนผสมภายใต้แรงดันและความร้อนสูง พร้อมปิดผิวด้วย วีเนียร์หรือแผ่นไฮเพรสเชอร์ลามิเนต เหมาะกับงานที่ต้องใช้ทนต่อการกระแทก เช่น ประตูห้องนอน ประตูห้องทำงาน ประตูห้องนั่งเล่น บานตู้ ชั้นวางของ ผนังกั้นห้อง เป็นต้น  
    • ข้อดี : ทนความชื้นได้ดีระดับหนึ่งแต่ก็ไม่ควรสัมผัสกับน้ำหรือแช่น้ำโดยตรง มีพื้นผิวที่เรียบเนียนสามารถนำไปทำสีได้สวยงาม ทนต่อการบิดเบี้ยว รองรับแรงกระแทกในระดับปานกลาง
    • ข้อเสีย : ไม้มีความแข็งอาจทำให้ตัดยาก ราคาสูงกว่าไม้ MDF และไม้อัดชนิดอื่น ๆ ที่ใช้ในการทำเฟอร์นิเจอร์เนื่องจากค่อนข้างมีความหนาแน่นระดับหนึ่งทำให้ต้องใช้ต้นทุนอย่างเครื่องมือในการตัดสูงหรือเปลี่ยนเครื่องมือบ่อยตามไปด้วย 
  • ไม้อัด HMR (High Moisture Resistance Board) : ผลิตโดยการนำชิ้นไม้ยูคาลิปตันมาสับและบดจนละเอียดจนเป็นเส้นใย แล้วอัดประสานด้วยกาวชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติเพิ่มแรงต้านการขยายตัวช่วยให้ทนความชื้น พร้อมปิดผิวด้วยเมลามีน วีเนียร์ หรือแผ่นไฮเพรสเชอร์ลามิเนต จะมีลักษณะเด่นเป็นสีเขียวที่สังเกตได้ชัดกว่าไม้อัดชนิดอื่น ๆ เนื่องจากมีการเติมสีเข้าไปเพื่อป้องกันการสับสนกับไม้อัด MDF เหมาะสำหรับนำไปใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ครัว เฟอร์นิเจอร์ห้องน้ำโซนแห้ง นำไปฉลุลายตกแต่งผนังห้อง หรือบริเวณอื่นที่มีความชื้นสูงแต่ไม่ถึงกับสัมผัสน้ำโดยตรง 
    • ข้อดี : สามารถนำไปทำสีได้สวยงาม เนื้อด้านในแน่นและละเอียดไม่มีรูพรุนทำให้ตัดแต่งรูปทรงได้ง่ายพร้อมกับตอกยึดติดได้ดี แข็งแรงกว่าไม้อัดทั่วไปจึงรับแรงได้มากทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการรองรับน้ำหนักที่ทางผู้ผลิตได้ตั้งไว้ ที่สำคัญทนความชื้นได้ดี
    • ข้อเสีย : มีราคาสูงกว่าไม้อัดประเภทอื่น ๆ และมีข้อจำกัดในเรื่องการทนความชื้นเล็กน้อยตรงที่ไม่สามารถสัมผัสน้ำได้โดยตรง จึงต้องระวังการนำไปใช้โซนที่เสี่ยงสัมผัสกับน้ำมาก เช่น ห้องน้ำและห้องครัวโซนเปียก โซนซักล้าง  
  • ไม้อัด OSB (Oriented Strand Board) : ผลิตจากการนำชิ้นไม้ขนาดเล็กต่างชนิดหรืออาจเป็นชนิดเดียวกันที่มีขนาดและความยาวหลากหลาย มาอัดรวมกันด้วยความร้อนและแรงดันสูง โดยใช้กาวชนิดพิเศษที่มีคุณสมบัติต้านทานความชื้น บางผู้ผลิตมักมีการใส่น้ำยากันปลวก แมลง และเชื้อราต่าง ๆ ทำให้มีความแข็งแรงกว่าไม้อัดทั่วไป นิยมใช้ในงานอุตสาหกรรมรถยนต์ ท็อปหน้าโต๊ะ ชั้นวางของ ชั้นวางหนังสือ ผนังด้านในรถไฟ รถบรรทุก รถตู้ขนส่ง เป็นต้น 
    • ข้อดี : มีความแข็งแรง ยืดหยุ่นได้สูง สามารถตอก ยึด เจาะได้ง่าย ทนทานต่อความชื้นได้ระดับหนึ่งแต่ไม่สามารถสัมผัสกับน้ำหรือถูกแช่น้ำโดยตรงได้ อีกทั้งยังตัดแต่งได้โดยไม้ไม่แตก หรือบิดเบี้ยว 
    • ข้อเสีย : ไม่สามารถทำสีได้เนื่องจากมีผิวไม่เรียบเนียน ไม่เหมาะกับการนำมาฉลุเพราะอาจทำให้เศษไม้หลุดร่วงเห็นลายไม่ชัด นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการติดไฟง่าย ดังนั้นจึงควรระวังการติดตั้งบริเวณที่ใกล้เปลวไฟและมีความร้อนสูง  

สิ่งที่ควรรู้ในการเลือกซื้อไม้อัด 

  1. ตรวจสอบคุณภาพของไม้อัดว่ามีมาตรฐานรับรองหรือไม่ เนื่องจากไม้อัดมีการประสานของกาวและสารเคมีที่เพิ่มคุณสมบัติต่าง ๆ ซึ่งอาจมีการใส่ในปริมาณมากส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้นั่นเอง 
  2. ไม้อัดจะมีขนาดที่หลากหลาย โดยขนาดไม้อัดมาตรฐานที่นิยมใช้ในประเทศไทยจะมีความหนาตั้งแต่ 4 – 20 มิลลิเมตร ซึ่งหากคุณอยากนำไปทำเป็นตู้ ชั้นวางของ หรือผนังสามารถใช้แผ่นไม้อัดที่มีความหนา 12 มิลลิเมตรขึ้นไป หากเป็นโต๊ะทำงานที่มีการรับน้ำหนักมาก ควรใช้ความหนาตั้งแต่ 18-24 มิลลิเมตร เป็นต้น
  3. ควรเช็กคุณสมบัติของไม้อัดแต่ละประเภทเพื่อให้คุณนำไปใช้งานได้อย่างเหมาะสม เช่น การทำเฟอร์นิเจอร์ ผนัง การตกแต่ง รวมถึงการนำไปติดตั้งตามบริเวณต่าง ๆ เพื่อช่วยเพิ่มอายุการใช้งานได้มากที่สุด
  4. สอบถามหรือสังเกตไส้ของไม้อัดโดยปกติจะมีประเภทไส้ของไม้อัดจะมีแบบไม้อัดไส้ต่อที่จะเห็นได้ชัดในรอยต่อของไม้แต่ละชั้นและในขณะที่ไม้อัดไส้เต็มจะไม่พบเห็นรอยต่อใด ๆ หรืออาจเห็นไม่ชัดเท่า ซึ่งไส้เต็มมักจะมีคุณภาพที่ดีกว่า แต่ก็ราคาสูงกว่าเช่นกัน 

ช้อปปิ้งสินค้า ไม้อัด ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ 

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย ไม้อัด หลากรูปแบบ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308   

อ่านเพิ่มเติม