ถังบำบัดน้ำเสีย
ประเภทของถังบำบัดน้ำเสีย
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ
- ตัวถังน้ำจะรับน้ำเสียจากห้องน้ำ ห้องครัว หรือจุดที่ต้องการถ่ายน้ำใช้โดยตรง
- เมื่อน้ำเข้าสู่ตัวถังแน่นอนว่าจะต้องมีตะกอนหนัก ตะกอนเบา ซึ่งระบบภายในถังบำบัดน้ำเสียนั้นจะทำหน้าที่กรองตะกอนหนักและเบา
- ซึ่งตะกอนหนักจะจมลงสู่ก้นถังโดยอัตโนมัติ ส่วนตะกอนเบาก็จะลอยขึ้น โดยตะกอนทั้ง 2 ประเภทจะถูกย่อยสลายด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์ (Pure Seed) ที่ใส่ไว้ภายในถัง เพื่อทำหน้าที่ลดกลิ่น กำจัดตะกอน
- เครื่องเติมอากาศในถังบำบัดจะเริ่มทำหน้าที่เติมออกซิเจนในน้ำเพื่อกระตุ้นให้หัวเชื้อจุลินทรีย์ทำงานนการกำจัดความเน่าเสียของน้ำก่อนจะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
- ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ
- ตัวถังบำบัดน้ำเสียจะรับน้ำเสียจากจุดต่าง ๆ เข้ามาภายในถัง
- เมื่อน้ำเข้าสู่ตัวถังก็จะมีตะกอนหนัก ตะกอนเบา และจะถูกย่อยสลายด้วยหัวเชื้อจุลินทรีย์เช่นเดียวกัน แต่อาจมีการย่อยสลายที่ช้า
- น้ำเสียภายในของระบบไม่เติมอากาศที่ผ่านการกรองตะกอนนั้น ตะกอนจะถูกย่อยเป็นน้ำและส่งต่อไปยังบ่อพักน้ำหรือบ่อสาธารณะ
ชนิดของถังบ้ำบัดน้ำเสีย
- ถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส : ผลิตมาจากเส้นใยแก้วที่ถูกนำมาเสริมความแข็งแรงด้วยพลาสติกเรซิน เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและทนทานให้กลับถังบำบัดน้ำเสียไฟเบอร์กลาส ลดปัญหาการแตกหัก การรั่วซึม นิยมใช้ภายในคอนโดมิเนียม โรงแรม โรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เพราะสามารถรองรับน้ำเสียในแต่ละวันได้ค่อนข้างปริมาณมาก
- ถังบำบัดน้ำเสียโพลีเอทิลีน (PE) : เป็นถังบำบัดน้ำเสียที่ถูกผลิตขึ้นมาด้วยพลาสติกชนิดโพลีเอทธีลีนคุณภาพสูง มีคุณสมบัติเด่นในด้านของความแข็งแรง คงทน รองรับน้ำหนักได้ดี และทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างบริเวณใต้พื้นดินได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน
ข้อควรรู้เกี่ยวกับถังบำบัดน้ำเสีย
1. สำหรับผู้ที่เป็นผู้ประกอบการหรือทำธุรกิจที่ต้องสร้างอาคาร โรงงาน หมู่บ้าน ควรต้องทำการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียตามข้อบังคับตามกฎหมาย เพราะเนื่องจากอาจมีการถ่ายน้ำเสียออกปริมาณมาก เพื่อไม่ให้เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม จึงต้องติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียร่วมด้วย
2. คำนวณการเลือกขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย โดยคำนวณจากผู้อยู่อาศัย x 80 % (ปริมาณเฉลี่ยของน้ำเสียในแต่ละวันซึ่งจะเปลี่ยนเป็นทศนิยมด้วยการนำไปหาร 100) x ปริมาณน้ำที่สมาชิกแต่ละคนใช้ในแต่ละวัน (ลิตร) x 1.5 (จำนวนวันโดยเฉลี่ยที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสีย)
ยกตัวอย่าง : บ้านพักอาศัยหลังหนึ่งมีจำนวนสมาชิก 4 คน โดยสมาชิกแต่ละคนมีความต้องการในการใช้น้ำในแต่ละวันเฉลี่ยคนละ 200 ลิตร เพราะฉะนั้นแล้วขนาดของถังบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสมสำหรับบ้านหลังนี้จะเท่ากับ 4 × 0.8 (ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นทศนิยมด้วยการนำ 80%ไปหาร 100 ก่อนจะนำมาคำนวณ) × 200 × 1.5 = 960 ลิตร แน่นอนว่าถังน้ำบำบัดน้ำเสียอาจไม่มีขนาดที่พอดีกับผลการคำนวณเสมอไป ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้ถังบำบัดน้ำเสียขนาด 1000 หรือ 1300 ลิตรขึ้นไปแทนได้
3. หากคุณคำนวณได้ขนาดถังน้ำแล้วควรตรวจสอบพื้นที่โดยรอบร่วมด้วยเพื่อให้ติดตั้งถังบำบัดน้ำเสียได้พอดี เพราะต้องมีการขุดฝังใต้ดินเป็นวงกว้างซึ่งอย่างน้อยต้องขุดหลุมให้กว้างกว่าถัง 1 เมตร
4. ปรับพื้นที่ที่คุณต้องการติดตั้งถังบำบัดน้ำเสีย เช่น เศษปูน เศษหิน เศษวัสดุก่อสร้าง ที่อาจจะไปทิ่มแทง สร้างความเสียหายให้กับถังบำบัดให้แตก ร้าว หรือรั่วซึมได้
5. ในขั้นตอนที่เติมน้ำลงในถังบำบัดให้เต็มนั้น คุณห้ามกลบทรายก่อนอย่างเด็กขาด เพราะถังบำบัดจำเป็นต้องเติมน้ำให้เต็มใบ เพื่อรับแรงดันจากดิน ทราบ ขณะกลบที่บีบเข้ามา อีกทั้งการเลือกทรายกลบควรเลือกเป็นทรายเนื้อหยาบล้วน เพราะถ้าหากเอาดินที่ขุดขึ้นมาผสมกับทราย โดยเฉพาะดินเหนียว เนื่องจากอาจส่งผลให้ถังแตกได้
6. เลือกถังน้ำ อุปกรณ์ถังน้ำ รวมถึงอุปกรณ์ติดตั้งที่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก. หรือมาตรฐานอื่น ๆ รับรอง เพื่อเพิ่มอายุการใช้งาน ลดการเกิดปัญหาต่าง ๆ ที่ส่งผลให้ต้องรื้อ ถอน เปลี่ยนถังบำบัดใหม่บ่อยครั้ง
7. เลือกซื้อกับบริษัทที่มีการรับประกันสินค้า มีบริการส่งถึงที่ เนื่องจากถังบำบัดน้ำเสียค่อนข้างมีขนาดใหญ่จึงอาจลำบากในการขนกลับด้วยตนเอง