ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
รู้ไว้คลายบ้านร้อน ฉนวนกันความร้อนมีกี่ประเภท

รู้ไว้คลายบ้านร้อน ฉนวนกันความร้อนมีกี่ประเภท


          หน้าร้อนแบบนี้ทุกคนน่าจะได้ยินคำว่า “ฉนวนกันความร้อน” กันบ่อยขึ้นกว่าเดิม เพราะฉนวนกันความร้อนคือหนึ่งในตัวเลือกที่สามารถบรรเทาความร้อนให้กับบ้านของเราได้เป็นอย่างดี บทความนี้พี่ไทเลยถือโอกาส พาทุกคนไปทำความรู้จักกับฉนวนกันความร้อนให้ดีขึ้นกว่าเดิม เผื่อใครอยากจะซื้อมาติดตั้งที่บ้านต้านความร้อน จะได้นำข้อมูลไปปรับใช้ได้อย่างทันท่วงที
          ฉนวนกันความร้อน คือ วัสดุที่สามารถสกัดกั้นความร้อนไม่ให้ส่งผ่านไปยังส่วนอื่น ๆ ของบ้าน ในฉนวนกันความร้อนจะประกอบไปด้วยฟองอากาศเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งไอ้เจ้าฟองอากาศตัวนี้มีคุณสมบัติพิเศษในการสกัดกั้นความร้อนให้อยู่แต่ในฟองอากาศ ไม่นำพาความร้อนจากแสงอาทิตย์กระจายออกไปยังส่วนต่าง ๆ ภายในบ้าน ดังนั้นการติดตั้งฉนวนกันความร้อนจึงนิยมนำมาติดตั้งไว้บนโครงหลังคา และบริเวณฝ้าเพดาน เพื่อประสิทธิภาพในการทำงาน

          ฉนวนกันความร้อนแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติในการกันความร้อนที่แตกต่างกันออกไป โดยให้ดูจาก

          - K-Value (K) หรือ ค่าสภาพการนำความร้อน (Conductivity) เป็นค่าที่บอกว่าฉนวนชนิดนั้นมีคุณสมบัตินำความร้อนมากน้อยเพียงใด ค่า K Value ตัวเลขยิ่งต่ำยิ่งดี
          - R-Value (R) หรือ ค่าความต้านทานความร้อน (Resistivity) เป็นค่าที่บอกว่าฉนวนชนิดนั้นมีการต้านทานความร้อนที่เข้ามาได้มากน้อยแค่ไหน ค่า R-Value ยิ่งตัวเลขมากก็จะยิ่งดี

          โดยฉนวนกันความร้อนสามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 ชนิด ดังต่อไปนี้

1. ฉนวนกันความร้อนอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminum Foil)

          ฉนวนกันความร้อนประเภทนี้มีลักษณะเป็นแผ่นอลูมิเนียมฟอยล์ 2 หน้า พื้นผิวมันวาว บางเรียบ มีความเหนียวมากเป็นพิเศษ ไม่ฉีกขาดง่าย อะลูมิเนียมฟอยล์มีคุณสมบัติช่วยสะท้อนความร้อน แต่ไม่ได้ป้องกันความร้อนเข้าสู่บ้าน จึงมักทำการติดตั้งฉนวนอะลูมิเนียมฟอยล์ ในบริเวณของโครงหลังคา และใช้งานร่วมกับฉนวนประเภทอื่น ๆ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการกันความร้อน
แผ่นสะท้อนความร้อน ฟอยล์ ยี่ห้อ GIANT KINGKONG

แผ่นสะท้อนความร้อน ฟอยล์ 2 ด้าน GIANT KINGKONG รุ่น DFC1001-60 ขนาด 1.25 x 60 เมตร สีเงิน


2. ฉนวนกันความร้อนใยเซลลูโลส (Cellulose)

          เป็นฉนวนที่ผลิตจากเยื่อไม้ หรือเยื่อกระดาษ ที่ผ่านกระบวนการรีไซเคิล จึงต้องมีการใส่สารป้องกันไฟลงในเยื่อกระดาษ ซึ่งสามารถป้องกันไฟได้ระดับหนึ่ง ฉนวนใยเซลลูโลสแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ แบบเส้นใยอัดเป็นแผ่น แบบคลุม และแบบฉีดพ่น ฉนวนใยเซลลูโลสจึงเหมาะกับการประยุกต์ใช้งานในผนังห้องหรือ ผนังของอาคาร รวมถึงใต้หลังคาของอาคาร

3. ฉนวนกันความร้อนโพลียูริเทน (Polyurethane)

          ฉนวนประเภทนี้ เป็นฉนวนกันความร้อนในรูปแบบโฟม ใช้การฉีดโฟมเนื้อละเอียดไปยังพื้นที่ว่าง อัดทับซ้อนกันจนเป็นแผ่น เกิดเป็นโครงสร้างเซลล์ปิด (Closed Cell) มีช่องอากาศเป็นโพรงเรียกว่า Air Gap จึงสามารถแนบไปกับแผ่นใต้หลังคาได้เป็นอย่างดี สามารถลดการแผ่รังสีจากแสงแดดซึ่งผ่านทางหลังคาได้มากกว่า 90% ป้องกันน้ำ และกันความชื้นได้ เหมาะสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีปัญหาเรื่องระบายความร้อน
ฉนวนกันความร้อน ฟอยล์ ยี่ห้อ MIRON

ฉนวนกันความร้อน ฟอยล์ 2 ด้าน A+ MIRON รุ่น A2XPEP17 ขนาด 1.2 x 20 เมตร หนา 10 มม. สีเทา - เงิน


4. ฉนวนกันความร้อนแคลเซี่ยมซิลิเกต (Calcium Silicate)

          เป็นฉนวนที่มีลักษณะพรุน ผลิตจากการนำทรายซิลิเซียส น้ำปูนขาว เส้นใย มาอบด้วยเครื่องอบความร้อนสูงพลังไอน้ำ จนเกิดเป็น ปูนขาวไฮเดรตที่มีเส้นใยที่ละเอียดเป็นส่วนประกอบ มีทั้งแบบ เส้นใยแร่ และ เส้นใยสังเคราะห์ สามารถตัดต่อตัดแปะได้เหมือนแผ่นยิบซั่ม ทาสีทับได้ ต้านทานความร้อนได้สูงถึง 650 องศาเซลเซียส เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ใช้อุณหภูมิสูง

5. ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว (Microfiber)

          ฉนวนใยแก้ว ผลิตจากเส้นใยแก้วที่ละเอียด ขึ้นรูปเป็นชนิดม้วน และชนิดแผ่น โครงสร้างของเส้นใยคล้ายกับรูพรุนจึงสามารถช่วยลดปริมาณความร้อนที่จะผ่านเข้าสู่ตัวอาคารได้ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติในการกันความร้อน ได้สูงถึง 300 องศาเซลเซียส กันเสียงได้ น้ำหนักเบา และมีความยืดหยุ่นสูง แต่ฉนวนใยแก้วมีข้อจำกัดเรื่องความเปียกชื้น เมื่อถูกน้ำจะยุบตัวทำให้ไม่สามารถป้องกันความร้อนได้ดีเท่าที่ควร จึงควรมีวัสดุหุ้มฉนวนเพื่อกันความชื้นจากไอน้ำอีกที
ฉนวนกันความร้อน ยี่ห้อ STAY COOL

ฉนวนกันความร้อน STAY COOL รุ่น 150 MM. PREMIUM ขนาด 0.6 x 4 เมตร


          นอกจากฉนวนกันความร้อนทั้ง 5 ประเภทที่พี่ไทยกตัวอย่างมาให้ดู ยังคงมีฉนวนอีกหลายประเภท เช่น อิฐมวลเบา แผ่นยิปซัมบอร์ด ฯลฯ ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นฉนวนกันความร้อนได้เช่นเดียวกัน เพียงแต่คุณภาพอาจไม่ดีเท่าที่ได้ยกตัวอย่างมา นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงสถานที่ในการใช้งาน พื้นที่ในการติดตั้ง และอย่าลืมว่าฉนวนกันความร้อนที่ดีต้องมีค่าสภาพการนำความร้อนต่ำ (Kต่ำ) และต้านทานความร้อนสูง (Rสูง) ซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกระบุไว้บนหีบห่อของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภท พี่ไทขอแนะนำว่าศึกษาข้อมูลทั้งหมดนี้ให้ดี ก่อนตัดสินใจซื้อฉนวนกันความร้อนนะครับ

• เลือกช้อปฉนวนกันความร้อน ครบ ถูกและดี ได้ที่หน้าร้าน และหน้าเว็บ คลิก

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สินค้าแนะนำ
ฉนวนกันความร้อน PE ฟอยล์ 1 ด้าน GIANT KINGKONG  รุ่น B-7 ขนาด 1.2 x 20 เมตร x 5 มม. สีเงิน
GIANT KINGKONG
ฉนวนกันความร้อน PE ฟอยล์ 1 ด้าน GIANT KINGKONG รุ่น B-7 ขนาด 1.2 x 20 เมตร x 5 มม. สีเงิน
รหัสสินค้า: 60296467
(2)
฿
1,350
/EACH
ฉนวนกันความร้อน ฟอยล์ 2 ด้าน A+ MIRON รุ่น A2XPEP54 ขนาด 0.6 x 10 เมตร หนา 10 มม. สีเทา - เงิน
สาขานี้หมดชั่วคราว
ฉนวนกันความร้อน STAY COOL รุ่น 75 MM. PREMIUM ขนาด 0.60 x 4 เมตร
gift
ฟรี!
ของแถม
STAY COOL
ฉนวนกันความร้อน STAY COOL รุ่น 75 MM. PREMIUM ขนาด 0.60 x 4 เมตร
รหัสสินค้า: 60080276
(2)
฿
379
/EACH