ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา
รายการที่ 1 - 33 จาก 33 รายการ
วัสดุกันกระแทก GIANT KINGKONG รุ่น D2 ขนาด 0.65 x 100 เมตร สีใส
GIANT KINGKONG
วัสดุกันกระแทก GIANT KINGKONG รุ่น D2 ขนาด 0.65 x 100 เมตร สีใส
รหัสสินค้า: 60217221
(2)
฿
319
/EACH
compare

ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา

อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศไทยบ้านเราเป็นประเทศเมืองร้อน ที่ค่อนข้างมีแดดตลอดแทบทุกฤดู และแน่นอนว่าความร้อนเหล่านี้สามารถส่งผลให้บ้านของคุณร้อนขึ้นจนรบกวนการพักผ่อน รู้สึกอบอ้าว หรืออาจต้องเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างแอร์และพัดลมตลอดทั้งวันทำให้เปลืองค่าไฟ เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับคุณ ดังนั้น การติดฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ตรงจุด แต่จะเลือกฉนวนกันความร้อนอย่างไรให้เหมาะสม เรามาดูพร้อมกันเลยครับ 

ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา มีกี่ประเภท 

การจะเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนมาปูใต้หลังคา เพื่อลดความร้อนภายในบ้านนั้น คุณจำเป็นต้องศึกษาถึงข้อมูลหรือความแตกต่างของฉนวนกันความร้อนแต่ละประเภทเสียก่อน เพื่อนำมาเปรียบเทียบและประกอบการตัดสินใจเลือกซื้อ โดยฉนวนกันความร้อนนั้นแบ่งออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน ดังนี้ 
  1. ฉนวนโพลีเอทิลีนโฟม (PE) : เป็นฉนวนที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้ปูใต้หลังคาได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหลังคาโรงงาน โรงพยาบาล โรงแรม รีสอร์ต ห้างสรรพสินค้า อาคาร เพราะมีความคงทนสูง ทนต่อความชื้นได้ดี ไม่ก่อให้เกิดเชื้อรา ทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้ดีระดับหนึ่ง 
  2. ฉนวนโฟมโพลียูรีเทน (PU) : เป็นฉนวนกันความร้อนหลังคา ที่ส่วนใหญ่มักติดตั้งไว้ใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีทโดยจะมีฟอยล์ปิดทับชั้นล่างอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งข้อดีของฉนวนประเภทนี้คือตัวฉนวนสามารถยึดเกาะได้กับทุกพื้นผิวที่ต้องการติดตั้ง เช่น คอนกรีต กระเบื้องและสังกะสี อีกทั้งยังมีการป้องกันน้ำรั่วซึม ป้องกันความร้อนจากแสงแดด  ปัจจุบันฉนวน PU มีการพัฒนาในรูปแบบฉีดและแบบแผ่นสำเร็จรูปที่มาพร้อมกับกระเบื้องหลังคา ซึ่งนับว่าเป็นฉนวนกันความร้อนที่มีให้เลือกสรรตามความสะดวกของเจ้าของบ้านได้ดั่งใจต้องการ
  3. ฉนวนใยหิน : เป็นเส้นใยสังเคราะห์ที่ผลิตจากการหินบะซอลท์นำมาหลอมเหลวในอุณหภูมิสูงประมาณ 1,300 องศา ก่อนจะนำมาลดอุณหภูมิด้วยน้ำพร้อมกับทำเป็นเส้นใย และนำไปอัดเป็นแผ่น ซึ่งข้อดีของฉนวนใยหินนั้นสามารถติดตั้งง่าย รวดเร็ว ป้องกันความร้อนจากแสงแดด ไม่ก่อให้เกิดการติดไฟและลามไฟ แต่ในขณะเดียวกันฉนวนใยหินก็ไม่อาจกักเก็บความชื้นได้ดี จึงไม่เหมาะกับการนำไปติดตั้งใต้หลังคาหรือบริเวณอื่น ๆ ที่สภาวะแวดล้อมภายในห้องเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ
  4. ฉนวนใยแก้ว : ผลิตจากใยแก้วเส้นสั้นหรืออาจใช้เส้นใยที่มีความหนา และห่อหุ้มด้วยฟอยล์ปิดทับ ทำหน้าที่สะท้อนความร้อนกลับออกไปนอกตัวบ้าน หากยังมีความร้อนหลงเหลืออยู่จะถูกกักเก็บไว้ในตัวเส้นใย ข้อดีของฉนวนกันความร้อนประเภทนี้ คือ  ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบา ทนทาน ทนความร้อนและลดปริมาณความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านหรืออาคารได้ อย่างไรก็ตามปัจจุบันผู้คนส่วนใหญ่ไม่นิยมนำฉนวนกันความร้อนประเภทนี้มาใช้ เนื่องจากเวลาผ่านไปอาจามีการระเหยของละอองที่เป็นสารพิษซึ่งส่งผลอันตรายต่อสุขภาพ 

อุปกรณ์ที่ใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อนหลังคา 

รู้จักกับฉนวนกันความร้อนหลังคากันไปแล้ว เรามาดูอุปกรณ์พื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับฉนวนกันความร้อนบ้างดีกว่า เพราะอุปกรณ์เหล่านี้มีความสำคัญระหว่างการติดตั้งและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันความร้อนให้กับบ้านได้ดียิ่งขึ้น และยังสามารถหาซื้อได้ง่ายที่ ไทวัสดุ อีกด้วย 
  • แผ่นสะท้อนความร้อน หรือ แผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ คือ แผ่นที่จะช่วยสะท้อนรังสีความร้อนออกไปทันทีและปล่อยให้ความร้อนที่เหลือผ่านลงไปยังตัวอาคารหรือบ้านเรือน ซึ่งจะทำให้คุณไม่รู้สึกร้อนมาก รู้สึกเย็นสบายเมื่อกำลังพักผ่อนอยู่ในบ้าน ขณะทำงาน อีกทั้งยังช่วยประหยัดค่าไฟจากการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ได้อีกด้วย 
  • เทปกาวอะลูมิเนียมฟอยล์ เป็นเทปชนิดพิเศษที่ผลิตจากแผ่นโลหะอะลูมิเนียมฟอยล์และตัวกาวบนเทปนั้นคือกาวอะคริลิค มีคุณสมบัติทนทานต่ออุณหภูมิเย็นและร้อนได้เป็นอย่างดี ติดแน่น ทนทาน ทนไฟและไม่ติดไฟ สามารถติดได้ทั้งพื้นผิวเรียบและขรุขระ ที่สำคัญทนต่อการเสื่อมสภาพจากสารเคมีรวมไปถึงรังสี UV ของแสงแดดที่ตกลงมากระทบใต้หลังคา 

ช้อปปิ้งสินค้า ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ 

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308 

อ่านเพิ่มเติม