ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
เบรกเกอร์
รายการที่ 1 - 48 จาก 249 รายการ
เบรกเกอร์ PANASONIC รุ่น BS1113YT HB 30A 2 Pole 30A สีดำ
-14%
PANASONIC
เบรกเกอร์ PANASONIC รุ่น BS1113YT HB 30A 2 Pole 30A สีดำ
รหัสสินค้า: 60040742
(1)
฿
฿127
108
/EACH
compare

เบรกเกอร์

เบรกเกอร์ เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันวงจรไฟฟ้า จากความเสียหายที่เกิดจากไฟโหลดเกิน หรือไฟฟ้าลัดวงจร โดยเบรกเกอร์ หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เป็นอุปกรณ์ที่เป็นด่านแรกที่ช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร ทำหน้าที่ตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติเมื่อเจอความผิดปกติในวงจรไฟฟ้า ซึ่งสังเกตได้จากด้ามจับคันโยกที่จะเลื่อนมาที่ตำแหน่ง Trip ที่ระหว่าง ON และ OFF เมื่อทำการแก้ไขเรียบร้อย ก็จะสามารถโยกเลื่อนกลับไปต่อใช้งานได้ดังเดิม โดยที่ตัวเบรกเกอร์เองไม่ได้รับความเสียหาย

เซอร์กิตเบรกเกอร์ มีกี่ขนาด

รู้จักหน้าที่ของเบรกเกอร์กันไปแล้ว คำถามต่อมาคือประเภทของเบรกเกอร์มีกี่แบบกันนะ ซึ่งประเภทของเบรกเกอร์เราจะแบ่งตามขนาดของมัน มีทั้งขนาดเล็กที่ใช้สำหรับวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าต่ำ อย่างพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน ไปจนถึงสวิตช์ขนาดใหญ่ สำหรับวงจรไฟฟ้าแรงสูงที่จ่ายไฟให้ตัวเมือง ซึ่งถ้าแบ่งตามพิกัดแรงดันจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม ได้แก่
  1. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ (Low Voltage)
  2. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง (Medium Voltage) 
  3. เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง (High Voltage)

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำเป็นเบรกเกอร์ที่ใช้งานทั่วไป ทั้งในงานเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม สามารถติดตั้งในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต ตู้ DB หรือตู้โหลดเซ็นเตอร์ เบรกเกอร์ชนิดนี้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย เนื่องจากได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล อย่างมาตรฐาน IEC 947 ทั้งนี้เบรกเกอร์ชนิดนี้มักจะติดตั้งในตู้ที่เปิดออกได้ ช่วยให้ถอดเปลี่ยนได้โดยไม่ต้องถอดสวิตช์ออก ตัวอย่างเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าต่ำ
  • MCB : Miniature Circuit Breakers – เรียกกันว่าเบรกเกอร์ลูกย่อย หรือลูกเซอร์กิต เป็นเบรกเกอร์ขนาดเล็กสำหรับบ้านพักอาศัย หรืออาคารที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 100A 
    • มีทั้งขนาด 1, 2, 3 และ 4 Pole ใช้ได้กับระบบกระแสไฟฟ้าทั้งแบบ 1 เฟสและ 3 เฟส 
    • การติดตั้งที่ได้รับความนิยม มี 2 แบบ คือ Plug-on ติดตั้งง่ายเพียงดันตัวเบรกเกอร์เข้ากรอบที่เตรียมไว้ และแบบ DIN-rail ที่ต้องใช้เครื่องมือช่างในการประกอบ
  • MCCB : Molded Case Circuit Breakers – เป็นเบรกเกอร์ที่ใช้เป็นสวิตช์เปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร ใช้กับกระแสไฟตั้งแต่ 100-2,300A ในแรงดันไม่เกิน 1,000 โวลต์ นิยมติดตั้งในตู้ไฟฟ้า (Local Panel) สำหรับอาคารขนาดใหญ่หรือโรงงานอุตสาหกรรมร่วมด้วย เนื่องจากสามารถทนกระแสลัดวงจร หรือค่า kA ได้
  • ACB : Air Circuit Breakers – เป็นเบรกเกอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้เลย ซึ่ง ACB จะทนกระแสไฟฟ้าได้สูงสุดถึง 6,300A นิยมใช้งานเป็นเมนเบรกเกอร์ในโรงงานกับงานแรงดันสูง (HVAC) ติดตั้งในตู้ MDB ต้องการการดูแลอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังสามารถเพิ่มอุปกรณ์เสริมต่าง ๆ ได้ตามความต้องการ ต่างจากแบบ MMCB ที่เพิ่มอุปกรณ์ไม่ได้

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าปานกลาง สามารถประกอบเข้าไปในตู้เหล็กสวิตช์ขนาดใหญ่ (Metal-enclosed Switchgear Lineups) โดยมักจะใช้ในอาคาร หรือใช้เป็นชิ้นส่วนติดตั้งภายนอกในสถานีย่อย เช่น แอร์เซอร์กิตเบรกเกอร์ (ACB) โดยในปัจจุบันหันมาใช้เบรกเกอร์สุญญากาศ (Vacuum Circuit Breakers) แทน มีแรงดันไฟฟ้าประมาณ 40.5 kV (กิโลโวลต์) ทำงานโดยมีรีเลย์ตรวจจับกระแสไฟฟ้า ที่ทำงานผ่านหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า เบรกเกอร์ชนิดนี้มักใช้เซ็นเซอร์กระแสสลับ และรีเลย์ป้องกันแทนการใช้เซ็นเซอร์วัดความร้อนหรือแม่เหล็ก

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง

เซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูงจะมีการทำงานคล้ายกับชนิดแรงต่ำ แต่ที่ต่างคือในส่วนของอุปกรณ์สั่งตัดตอน ซึ่งในระบบแรงดันไฟสูง เซอร์กิตเบรกเกอร์จะรับสัญญาณ Overload Current หรือ Short Circuit Current จากอุปกรณ์ตรวจจับภายนอก จากนั้นจะสั่งให้ Shunt Trip ตัดออกจากการจ่ายไฟ โดยเครือข่ายการส่งกำลังไฟฟ้ามีการป้องกัน และควบคุมโดยเซอร์กิตเบรกเกอร์แรงดันไฟฟ้าสูง ความหมายของ “แรงดันไฟฟ้าสูง” อาจมีความแตกต่างกันไป แต่ในงานส่งกำลังจะมีขนาดแรงดันไฟ 72.5 kV (กิโลโวลต์) หรือสูงกว่า (ตามคำจำกัดความล่าสุดของ IEC)

เซอร์กิตเบรกเกอร์ กับ คัทเอาท์ ต่างกันไหมนะ

ทุกวันนี้เราจะเห็นว่า เซอร์กิตเบรกเกอร์ถูกนำมาใช้แทนคัทเอาท์ ที่ตัดไฟฟ้าด้วยมือโดยการใช้คันโยก ความยุ่งยากของคัทเอาท์คือ เมื่อเกิดไฟช็อตหรือไฟฟ้าลัดวงจร เส้นตะกั่วที่ควบคุมจะละลายและขาดออก เวลาจะเปลี่ยนต้องเปลี่ยนทั้งเส้นเส้นตะกั่ว และกระบอกฟิวส์ก่อนถึงจะใช้งานได้ ซึ่งการเปลี่ยนมาใช้เซอร์กิตเบรกเกอร์นั้นจะให้ความสะดวกกว่า เนื่องจากสามารถตัดวงจรไฟฟ้าได้อัตโนมัติเมื่อเกิดความผิดปกติ อีกทั้งยังปิดหรือต่อวงจรได้ทันที หลังจากแก้ปัญหาความผิดปกติได้แล้ว ไม่ต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่เหมือนกับคัทเอาท์ให้ยุ่งยาก

วิธีเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์

ระบบไฟฟ้าในประเทศไทยสำหรับที่พักอาศัยจะเป็นแบบ 1 เฟส ส่วนโรงงานหรืออาคารพาณิชย์ ส่วนใหญ่จะเป็นแบบ 3 เฟส การเลือกเซอร์กิตเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับการใช้งานต้องดูที่จำนวน Pole ซึ่งเป็นตัวบ่งบอกว่า เบรกเกอร์ที่ใช้เป็นกี่เฟส และค่าพิกัดกระแส ซึ่งจะเป็นตัวบ่งบอกค่าจำกัดในการใช้งานของเซอร์กิตเบรกเกอร์นั่นเอง เรามาทำความรู้จักทั้ง 2  ส่วนนี้กันเลย
  • จำนวน Pole แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
    • 1 Pole : เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันสาย Line อย่างเดียว ส่วนใหญ่จะเป็นเบรกเกอร์ลูกย่อยที่ใช้ร่วมกับตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต และมักใช้ในบ้านพักอาศัย
    • 2 Pole : เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 1 เฟส ป้องกันสาย Line และสาย Neutral จะใช้เป็นเมนเบรกเกอร์ในตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต มีทั้งแบบ MCB และ MCCB
    • 3 Pole : เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟส ป้องกันสาย Line อย่างเดียว นิยมใช้ในอาคารพาณิชย์และโรงงานอุตสาหกรรม
    • 4 Pole : เซอร์กิตเบรกเกอร์สำหรับระบบ 3 เฟส ป้องกันสาย Line และสาย Neutral เหมาะกับระบบที่ต้องการความปลอดภัยสูง เนื่องจากป้องกันได้ทั้ง 4 เส้น เมื่อระบบไฟฟ้าเกิดความผิดปกติ
  • ค่าพิกัดกระแสที่คุณควรรู้
    • IC : Interrupting Capacitive – พิกัดการทนกระแสลัดวงจรสูงสุดโดยปลอดภัยของเบรกเกอร์นั้น ๆ มักแสดงในหน่วย kA (กิโลแอมแปร์)
    • AT : Amp Trip –  เป็นค่ากระแสที่เบรกเกอร์เริ่มทำงาน เป็นตัวบอกให้รู้ว่า เบรกเกอร์ตัวนั้นสามารถทนต่อกระแสในภาวะปกติได้สูงสุดเท่าไหร่ เช่น เบรกเกอร์ที่มีค่าแอมป์ทริป 100A เมื่อกระแส 0-100A ไหลผ่าน เบรกเกอร์จะไม่ทริป แต่หากมีกระแส 130A คงที่ไหลผ่าน เบรกเกอร์จะทริปภายในเวลา 2 ชั่วโมง
    • AF : Amp Frame – พิกัดกระแสโครง หมายถึงพิกัดการทนกระแสสูงสุดของเบรกเกอร์นั้น ๆ โดยเบรกเกอร์ที่มีขนาด AF เดียวกันจะมีขนาดมิติ กว้าง x ยาว x สูง เท่ากัน สามารถเปลี่ยนพิกัด AT ได้โดยที่ขนาด (มิติ) ของเบรกเกอร์ยังคงเท่าเดิม

ช้อปปิ้งสินค้า เบรกเกอร์ ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับ ไทวัสดุ

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่ายมือเบรกเกอร์ เซอร์กิตเบรกเกอร์ เมนเซอร์กิตเบรกเกอร์ ลูกย่อยเบรกเกอร์ เบรกเกอร์กันดูด ลูกย่อยเบรกเกอร์กันไฟดูด คัทเอาท์ เครื่องตัดไฟ โมลเคสเซอร์กิตเบรกเกอร์ รีเลย์ สวิทช์ตัดตอน ออโต้เบรกเกอร์ อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้า ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว เลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308

อ่านเพิ่มเติม