ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
8 อุปกรณ์เซฟตี้ ที่ควรมีคู่อุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย
8 อุปกรณ์เซฟตี้ ที่ควรมีคู่อุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย

          เรื่องความปลอดภัยในที่สถานที่ทำงานเป็นเรื่องที่เราไม่สามารถมองข้ามไปได้เลย เพราะเกี่ยวเนื่องกับชีวิตจึงต้องระมัดระวัง
          โดยมีข้อกำหนดตาม พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ที่บัญญัติไว้ว่า ‘เจ้าของโรงงานหรือนายจ้างต้องรับผิดชอบในเรื่องความปลอดภัยด้านการปฏิบัติงาน โดยต้องจัดหาอุปกรณ์ป้องกันภัยทุกประเภทให้ครบถ้วนและพอเพียง’ ซึ่งถ้าละเลยจะมีโทษทั้งในทางแพ่งและอาญา

อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE หรือ Personal Protective Equipment)
          หลาย ๆ ท่านอาจรู้จักกับคำว่า PPE หรือ ความหมายจริง ๆ คือ อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล ที่มีตั้งแต่หัวจรดเท้า ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้ถูกกำหนดไว้ในข้อบังคับ พรบ.ความปลอดภัยอาชีวอนามัยฯ ที่ต้องมีในสถานที่ทำงานนั้นเอง มีอะไรบ้างนั้นมาดูกัน

8 อุปกรณ์เซฟตี้ ที่ควรมีคู่อุตสาหกรรม เพื่อความปลอดภัย ได้แก่
1. อุปกรณ์ป้องกันศีรษะ
          หมวกนิรภัย ใช้สำหรับป้องกันศีรษะ จากการกระแทก การเจาะทะลุจากของแข็ง ซึ่งส่วนมากหมวกนิรภัยเหล่านี้ทำมากจาก พลาสติกขนาดแข็ง หรือไฟเบอร์กลาส์ (ใยแก้ว) ที่สามารถป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ในส่วนงานบนที่สูง งานดับเพลิง เป็นต้น
2. อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา
          แว่นตานิรภัย ครอบตานิรภัย ใช้สำหรับ ป้องกันดวงตาและใบหน้า ซึ่งมีหลายแบบแตกต่างกันไปตามลักษณะของงาน แว่นตานิรภัยส่วนใหญ่จะเป็นแว่นลักษณะใส่ครอบตา มีทั้งแบบทำจากพลาสติก สำหรับป้องกันการกระแทกหรือเศษวัสดุ เหมาะกับงานเจียระไน งานไม้ งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี ฯลฯ แต่หากเป็นโรงงานที่ตัดหรือเชื่อมโลหะ ควรใช้เป็นหน้ากากเชื่อม (Welding Helmets) โดยเฉพาะ จะสามารถป้องกัน แสง รังสี และความร้อนได้ดีกว่า
3. อุปกรณ์ป้องกันระบบหายใจ
          หน้ากากกรองอากาศชนิดต่าง ๆ ใช้เพื่อป้องกันฝุ่นละออง ในพื้นที่การทำงานที่มีฝุ่นละอองมากกว่าปกติ หน้ากากใช้สำหรับป้องกัน ไม่ให้สารอันตรายหรือ สารพิษที่ปนเปื้อนในอากาศเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ เช่น งานตัดเย็บเสื้อผ้า งานก่อสร้าง เป็นต้น
4. อุปกรณ์ป้องกันมือ
          ถุงมือนิรภัย ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับมือ จากสารเคมี วัตถุมีคม ไฟฟ้าสถิต สิ่งสกปรกต่าง ๆ ซึ่งโดยส่วนมากวัสดุที่นำมาผลิต จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ชนิดของงาน และแบ่งไปได้แต่ละประเภทของงานได้ดังนี้
          • ถุงมือใยหิน สำหรับป้องกันความร้อนหรือไฟ
          • ถุงมือใยโลหะ สำหรับงานที่ต้องหั่น ตัด หรือจับของมีคม
          • ถุงมือยาง สำหรับงานไฟฟ้า แต่ถ้าเป็นงานเกี่ยวกับไฟฟ้าแรงสูง ต้องสวมถุงมือหนังทับอีก 1 ชั้น
          • ถุงมือยางไวนิล/ ถุงมือยางนีโอพรีน สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
          • ถุงมือหนัง สำหรับงานไม้ งานโลหะ งานขัดผิว แกะสลัก หรืองานเชื่อมที่ไม่ได้ใช้ความร้อนสูง
          • ถุงมือหนังเสริมใยเหล็ก สำหรับงานหลอมหรือถลุงโลหะ
          • ถุงมือผ้า สำหรับงานทั่วไป ใช้เพื่อป้องกันสิ่งสกปรกหรือของมีคมอย่างมีด
          • ถุงมือผ้าแบบเคลือบน้ำยา สำหรับงานที่ต้องสัมผัสสารเคมีเล็กน้อย เช่น งานบรรจุกระป๋อง หรืองานในโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร เช่น งานที่ต้องปกกันของมีคม จะใช้วัสดุทำมาจากใยผ้าวัสดุพิเศษ หรือมีส่วนผสมของเส้นใยสเตนเลส ทำให้มีความทนทานต่อการบาดเฉือนได้เป็นอย่างดี
5. อุปกรณ์ป้องกันขาและเท้า
          รองเท้านิรภัย อุปกรณ์เซฟตี้ที่ออกแบบมาเพื่อลดแรงกระแทก ป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับนิ้วเท้า เท้า และข้อเท้า มีหลายชนิด เลือกใช้ตามความเหมาะสมของงาน ใช้สำหรับป้องกัน อันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการกระแทก ทับ หรือหนีบโดยวัตถุแข็ง การหกใส่ของสารเคมี การสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า เช่น รองเท้าบู๊ทนิรภัยหัวเหล็ก รองเท้ายาง รองเท้าพลาสติก เป็นต้น
6. อุปกรณ์ป้องกันลำตัว
          ชุดป้องกันสารเคมี ชุดป้องกันความร้อน แผ่นคาดลำตัว หรือเอี๊ยม ใช้สำหรับป้องกันอันตราย ที่อาจเกิดขึ้นกับลำตัวจากการกระเด็นของสารเคมีอันตราย โลหะหลอมเหลว การสัมผัสอุณหภูมิที่ร้อนจัดหรือเย็นจัด รวมถึงไฟไหม้ การกระแทกกับวัตถุแข็งต่าง ๆ
7. อุปกรณ์ป้องกันเสียงดัง
          ที่อุดหูลดเสียง (Ear Plugs) ที่ครอบหูลดเสียง (Ear Muffs) ใช้สำหรับลดระดับเสียง ดังจากสภาพแวดล้อมการทำ งานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ก่อนเข้าสู่ระบบการได้ยินของผู้ปฏิบัติงาน ทั้งนี้เพื่อป้องกัน การสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน
8. อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง
          เข็มขัดนิรภัย (Safety Belt) สายรัดตัวนิรภัย (Safety Harness) เชือกนิรภัย (Lanyards) สายช่วยชีวิต (Lifelines) ใช้สำหรับป้องกัน ไม่ให้คนทำงานในที่สูงตกลงสู่เบื้องล่าง เข็มขัดนิรภัยที่ได้มาตรฐาน ควรเป็นลักษณะของสายรัดลำตัว คาดยาวตั้งแต่หัวไหล่ หน้าอก เอว และช่วงขา เพื่อเอาไว้ช่วยพยุงตัว หากต้องทำงานบนที่สูงและโล่ง ไม่มีจุดให้ยึดเกาะ

• เลือกช้อปสินค้าแบรนด์ MICROTEX ได้ที่หน้าร้าน และหน้าเว็บ คลิก 

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สินค้าแนะนำ