ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
เทคนิคต่อท่อประปา ต่ออย่างไรไม่ให้น้ำรั่ว

เทคนิคต่อท่อประปา ต่ออย่างไรไม่ให้น้ำรั่ว


          การต่อท่อประปาด้วยตัวเอง ฟังดูแล้วไม่น่าเป็นเรื่องยากเกินความสามารถ เพราะไม่ได้เป็นงานช่างที่มีความยุ่งยากแต่อย่างใด ขอแค่มีอุปกรณ์ครบก็สามารถทำได้ทันที แต่สิ่งที่น่าจะยากกว่าก็คือการต่อท่อประปาให้สมบูรณ์แบบ ไม่มีปัญหารั่วซึมตามมา ซึ่งต้องใช้ความเข้าใจ และประสบการณ์ในการทำงานช่าง
          ในบทความนี้พี่ไทจึงขอแนะนำเทคนิคการต่อท่อประปา ไม่ให้เกิดปัญหารั่วซึม ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ความเข้าใจมากกว่าใช้ประสบการณ์ เพื่อให้ทุกคนสามารถนำไปใช้งานได้จริง โดยพี่ไทจะขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำอุปกรณ์ในการต่อท่อประปา และต่อด้วยเทคนิคในการต่อท่อประปา ดังนี้

อุปกรณ์ในการต่อท่อประปา

          1. ท่อประปา ท่อชนิดนี้รู้จักกันดีในชื่อท่อ PVC (โพลิไวนิลคลอไรด์) คุณสมบัติสำคัญคือ มีความเหนียวยืดหยุ่น ทนต่อแรงดันน้ำ ทนต่อการกัดกร่อน ไม่เป็นฉนวนนำไฟฟ้า ไม่เป็นวัสดุติดไฟ น้ำหนักเบา ราคาถูก คุณสมบัติเพียบพร้อมขนาดนี้ นอกจากงานประปาแล้ว ยังถูกนำมาประยุกต์ใช้ทั้งในงานไฟฟ้า และงานอุตสาหกรรม

ท่อประปา PVC ยี่ห้อ น้ำไทย

ท่อ PVC ชั้น 8.5 น้ำไทย ขนาด 1/2 นิ้ว ยาว 4 เมตร สีฟ้า


          2. ข้อต่อท่อน้ำ ข้อต่อมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้งาน เช่น ข้อต่อตรงใช้ต่อความยาวท่อ ข้อต่อโค้งใช้เปลี่ยนทิศทางท่อ ข้อต่อลดหนาใช้ลดขนาดท่อ ปรับเปลี่ยนไปตามรูปแบบพื้นที่ในการวางท่อ

ข้อต่อตรง ยี่ห้อ ตรามือ

ข้อต่อตรง ตรามือ รุ่น 50202 ขนาด 3/4 นิ้ว สีฟ้า

ข้องอ ยี่ห้อ SCG

ข้องอหนา 90 องศา SCG ขนาด 3/4 นิ้ว สีฟ้า

สามทาง ยี่ห้อ ตรามือ

สามทาง ตรามือ รุ่น 50602 ขนาด 3/4 นิ้ว สีฟ้า

นิปเปิ้ล PVC ยี่ห้อ ตรามือ

นิปเปิ้ล PVC ตรามือ รุ่น 540-2 ขนาด 3/4 นิ้ว (5 ชิ้น) สีฟ้า


          3. น้ำยาประสานท่อ หรือที่รู้จักกันในชื่อกาวทาท่อ มีคุณสมบัติละลายเนื้อท่อพีวีซีให้ประสานเป็นเนื้อเดียวกัน ใช้สำหรับการทาท่อก่อนประสานท่อเข้าด้วยกัน

น้ำยาประสานท่อ ยี่ห้อ น้ำไทย

น้ำยาประสานท่อ น้ำไทย ขนาด 100 กรัม สีทองแดง


          4. กรรไกรตัดท่อพีวีซี หรือเลื่อยตัดเหล็ก อุปกรณ์ทั้ง 2 ชิ้นนี้คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดท่อ โดยกรรไกรจะมีความสะดวกกว่าในการใช้งาน แม่นยำกว่า เรียบเนียน ปลายท่อที่ตัดไม่เป็นขุ่ย ทำให้ประหยัดเวลาในการทำงาน แต่สามารถตัดท่อได้เพียงอย่างเดียว ไม่สามารถใช้งานได้หลากหลายเหมือนเลื่อยตัดเหล็ก

กรรไกรตัดท่อพีวีซี ยี่ห้อ PUMPKIN

กรรไกรตัดท่อพีวีซี PUMPKIN รุ่น 33624 ขนาด 42 มม. สีส้ม – ดำ

เลื่อยตัดเหล็ก ยี่ห้อ SOLO

เลื่อยตัดเหล็ก SOLO NO.227 12 นิ้ว ขนาด 26 มม. สีขาว


          5. ตัวยึดท่อ เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเสริมความเรียบร้อยในการจัดเก็บท่อให้ดูเป็นระเบียบมากขึ้น ทำหน้าที่ยึดท่อให้ติดอยู่กับผนัง ไม่ขยับหรือหลุดในระหว่างการใช้งาน โดยมีให้เลือกทั้งแบบโลหะ และแบบ PVC

ตัวยึดท่อ ยี่ห้อ HACO

ตัวยึดท่อ HACO รุ่น CC20/P ขนาด 20 มม. (แพ็ค 10 ชิ้น) สีขาว


เทคนิคในการต่อท่อประปา

1. ต่อท่อ PVC กับข้อต่อให้ได้ความลึก 2.5 เซนติเมตร

          ท่อประปา PVC ที่สอดเข้าไปในข้อต่อ ต้องมีความลึกไม่น้อยกว่า 2.5 เซนติเมตร เป็นระยะที่แน่นที่สุด หากไม่ถึงระยะนี้จะมีโอกาศรั่วซึมค่อนข้างสูง อาจจะทำการวัดให้ได้ 2.5 เซนติเมตร ก่อนสอดท่อ จะได้กะระยะได้ถูกหลังจากสอดท่อเข้าไปในข้อต่อแล้ว

2. ขัดปลายท่อประปาด้วยกระดาษทรายหรือตะไบ

          ถ้าตัดท่อด้วยกรรไกรตัดท่อ ปลายท่อจะค่อนข้างเรียบ แต่ถ้าตัดด้วยเลื่อยตัดเหล็กปลายท่อจะเป็นขุย ซึ่งจำเป็นต้องขัดปลายท่อให้มนด้วยการใช้ตะไบ หรือกระดาษทรายหยาบ ขุยที่ปลายท่อประปาจะได้ไม่ไปขัดขวางทางน้ำ และจะทำให้ปลายท่อที่สอดเข้าไปแน่นขึ้นด้วย

3. ทากาวหรือน้ำยาประสานท่อที่ปลายท่อประปา

          การทากาวควรทาที่ปลายท่อประปาด้านนอกเท่านั้น ไม่ทาที่ภายในข้อต่อ เพราะเมื่อถึงเวลาต่อท่อ ปลายท่อจะถูกข้อต่อดันกาวออก กาวที่ทาไว้จะไม่หลุดเข้าไปในท่อ หลีกเลี่ยงปัญหาน้ำประปาอุดตันในอนาคตที่เกิดจากคราบกาว

4. ดันท่อประปาเข้าหากันอย่างน้อย 10 วินาที

          เมื่อต่อท่อประปาหลังจากทากาวเรียบร้อยแล้ว ให้ดันท่อทั้งสองด้านเข้าหากันให้แน่น และค้างไว้เป็นเวลาอย่างน้อย 10 วินาที ถึงค่อยปล่อยมือออก จะช่วยลดปัญหารั่วซึมได้ดีมากยิ่งขึ้น

5. ทำการทดสอบก่อนใช้งาน

          หลังจากต่อท่อประปาเรียบร้อยทุกจุด ให้ทดสอบด้วยการเปิดน้ำให้ไหลเข้าสู่ภายในท่อ หลังจากนั้นให้เช็ดมือให้แห้งที่สุด แล้วลูบไปตามท่อประปา PVC ที่เพิ่งต่อ ตั้งแต่ต้นทางไปยังปลายทาง เป็นการเช็คครั้งสุดท้ายก่อนใช้งานจริง

          ลองนำเทคนิคทั้งหมดที่กล่าวมาไปเป็นแนวทางในการต่อท่อประปาในครั้งหน้าดูนะครับ จะได้จบปัญหาท่อประปารั่วได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ถึงอย่างไรก็ตามอุปกรณ์ทุกชิ้นย่อมมีการเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา คอยหมั่นตรวจเช็คตรวจสอบอยู่เป็นประจำจะได้แก้ปัญได้อย่างทันท่วงทีครับ

ขอบคุณภาพจาก: griffon.eu, todayshomeowner.com, craft-art.com, uooz.com, plasticstoday.com

• เลือกช้อปอุปกรณ์งานช่างประปา ครบ ถูกและดี ได้ที่หน้าร้าน และหน้าเว็บ คลิก

เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
สินค้าแนะนำ