เลือก "สุขภัณฑ์" อย่างไรให้ราบรื่บทุกการใช้งาน!
สุขภัณฑ์ (Sanitary Ware) คำที่หลายคนคุ้นหู แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าแท้จริงแล้วมันคือส่วนไหนในห้องน้ำ ซึ่งถ้าจะให้พูดถึงความหมายของมัน ก็คือภาชนะหรืออุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รองรับของเหลว และจ่ายของเหลวสกปรกทั้งหลายที่ออกมาจากร่างกายของพวกเราไปยังแหล่งขจัดของเสีย และระบบระบายน้ำต่าง ๆ เพื่อมอบสุขอนามัยที่ดี และความสะดวกให้แก่พวกเรานั่นเอง นั่นแปลว่าสุขภัณฑ์นั้นจะเป็นได้ตั้งแต่ชักโครก โถปัสสาวะ โถส้วม ถาดรองอาบน้ำ อ่างอาบน้ำ ไปจนถึงอุปกรณ์ห้องน้ำต่าง ๆ โดยวันนี้เราจะมาโฟกัสกันที่โถสุขภัณฑ์ ซึ่งจะมีแบบไหนบ้าง ประเภทไหนเหมาะกับการใช้งานของเรา แล้วแต่ละแบบทำงานอย่างไร ตามมาดูกันเลย
ประเภทของสุขภัณฑ์
สามารถแบ่งประเภทหลัก ๆ ตามการใช้งานได้ 2 รูปแบบ คือ แบบนั่งราบ และแบบนั่งยอง โดยแต่ละประเภทจะมีประเภทแยกย่อยออกไปอีก ซึ่งเราย่อยรายละเอียดมาให้ทุกคนเข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
- สุขภัณฑ์แบบนั่งราบ
- นั่งราบแบบราดน้ำ
- ไม่มีถังพักน้ำ
- แบบชำระด้วยการราดน้ำ
- สุขภัณฑ์ชิ้นเดียว
- ออกแบบถังพักน้ำและโถนั่งรวมกันเป็นชิ้นเดียวกัน
- ทำความสะอาดง่าย
- น้ำไม่รั่วซึม
- สุขภัณฑ์สองชิ้น
- ออกแบบถังพักน้ำแยกชิ้นกับโถนั่ง
- ราคาประหยัดกว่าแบบชิ้นเดียว แต่มีขั้นตอนการติดตั้ง และการทำความสะอาดจะยุ่งยากกว่าแบบชิ้นเดียว
- เปลี่ยนเฉพาะชิ้นได้หากมีการชำรุด
- นั่งราบใช้ฟลัชวาล์ว
- ลักษณะคล้ายกับสุขภัณฑ์แบบสองชิ้น แต่ไม่มีถังพักน้ำ
- ชำระด้วยการต่อน้ำตรงจากท่อส่งน้ำ
- ใช้ร่วมกับฟลัชวาล์วได้ต่อเนื่องไม่ต้องรอน้ำเต็มถังพัก
- มีเสียงดังขณะชำระ เพราะอาศัยแรงดันของน้ำภายในท่อ
- นิยมใช้กับห้องน้ำสาธารณะ หน่วยงาน ร้านค้าขนาดใหญ่ ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
- นั่งราบแบบราดน้ำ
- สุขภัณฑ์แบบนั่งยอง
- นั่งยองราดน้ำ
- เป็นโถที่ใช้น้ำตักราด อาจทำให้ห้องน้ำเปียกอยู่ตลอดเวลา
- ราคาไม่แพง ดูแลรักษาง่ายมาก
- ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้พิการ
- นั่งยองฟลัชวาล์ว
- ใช้งานสะดวกกว่าแบบนั่งยองราดน้ำ
- ไม่เหมาะกับผู้สูงอายุ ผู้ป่วย และผู้พิการ
- มีเสียงดังขณะชำระ เพราะอาศัยแรงดันของน้ำภายในท่อ
- ไม่มีถังพักน้ำ ชำระด้วยการต่อน้ำตรงจากท่อส่งน้ำ
- ใช้ร่วมกับฟลัชวาล์วได้ต่อเนื่องไม่ต้องรอน้ำเต็มถังพัก
- นิยมใช้กับห้องน้ำสาธารณะ ร้านค้า ปั๊มน้ำมัน ฯลฯ
- นั่งยองราดน้ำ
ระบบท่อระบายน้ำของสุขภัณฑ์
แน่นอนว่าสุขภัณฑ์ต้องทำงานควบคู่กับอะไหล่สุขภัณฑ์ระบบท่อระบายน้ำ เพื่อระบายและกำจัดของเสียต่าง ๆ ซึ่งระบบท่อระบายน้ำหลัก ๆ จะมีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้
- ระบบ S-Trap ระบบเดินท่อลงพื้น เหมาะสำหรับบ้านพักอาศัย ระยะท่อน้ำทิ้งมาตรฐาน 305 มม. จากผนัง
- ระบบ P-Trap ระบบเดินท่อออกผนัง เหมาะสำหรับอาคารสูง เช่น คอนโดมิเนียม โรงแรม ฯลฯ ทั้งนี้ควรมีการติดตั้งสต๊อปวาล์วช่วยควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ ในกรณีที่ต้องการจะซ่อมหรือเปลี่ยนสุขภัณฑ์
คุณสมบัติระบบชำระล้างของสุขภัณฑ์
เมื่อรู้จัดประเภทของสุขภัณฑ์กันไปแล้ว มาทำความรู้จักระบบการชำระล้างของสุขภัณฑ์กันต่อเลยดีกว่า ซึ่งโดยทั่วไปจะมี 4 ระบบ ดังนี้
- ระบบ Wash Down ระบบล้างทำความสะอาด
- ระบบการชำระล้าง : เป็นการราดน้ำลงไปตรง ๆ ไม่มีการหมุนวนของน้ำภายในชักโครก (ตักน้ำราดได้ในกรณีที่น้ำไม่ไหล) พูดง่าย ๆ คือใช้หลักการน้ำใหม่แทนที่น้ำเก่า และใช้น้ำน้อยกว่าระบบอื่น
- เสียงขณะชำระ : ดังมาก
- ระบบ Siphonic Wash Down ระบบกาลักน้ำ
- ระบบการชำระล้าง : พัฒนาจากระบบ Wash Down โดยเพิ่มระบบให้น้ำหมุนวน แล้วค่อย ๆ ลดระดับจนเกิดแรงดึงของสายน้ำลงไป ช่วยดูดสิ่งปฏิกูลได้ดียิ่งขึ้น
- เสียงขณะชำระ : ดัง
- ระบบ Siphon-Jet ระบบกาลักน้ำแบบมีรูเจ็ท (Jet Hole)
- ระบบการชำระล้าง : เป็นระบบที่เพิ่มเติมจาก Siphonic Wash Down โดยติดตั้งท่อเพิ่มที่ด้านล่างสุดของชักโครก เพื่อพ่นน้ำช่วยดันของเสียให้เร็วขึ้น
- เสียงขณะชำระ : ดัง
- ระบบ Siphonic Vortex ระบบกาลักน้ำแบบกระแสน้ำหมุนวน
- ระบบการชำระล้าง : มีรูเจ็ทข้างคอห่าน โดยปล่อยน้ำออกมาให้เป็นน้ำวน ทำให้เกิดการดูดที่แรง ใช้น้ำมาก ชำระล้างที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด ซึ่งจะพบในสุขภัณฑ์แบบชิ้นเดียว
- เสียงขณะชำระ : เบา เงียบ
ทั้งนี้ปริมาณน้ำที่ใช้ในการชำระ ควรตรวจสอบจากสินค้าจริง เนื่องจากทุกระบบมีทั้งรุ่นที่เป็น Single Flush ซึ่งใช้น้ำเท่ากันทุกครั้งที่กดน้ำ และรุ่นที่เป็น Dual Flush ที่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้น้ำน้อยหรือน้ำมากในการชำระ
นอกจากสุขภัณฑ์แบบทั่วไป โถปัสสาวะชายแบบแขวนผนัง ก็ถือเป็นสุขภัณฑ์อีกประเภทหนึ่งด้วย โดยโถปัสสาวะแบบแขวนผนังจะมีคุณสมบัติ ดังนี้
- ทำความสะอาดได้ง่ายกว่าแบบตั้งพื้น
- มีระบบชำระเพียงระบบเดียว คือ ระบบ Wash Down
- ใช้ระบบระบายน้ำแบบ P-Trap ต้องเดินท่อทะลุผนัง ไม่สามารถเจาะลงท่อลงพื้นได้
- ประเภทของโถปัสสาวะ จะมีแบบ Back Spud เป็นชนิดน้ำเข้าจากผนังด้านหลัง และ Top Spud เป็นชนิดน้ำเข้าจากด้านบน
เรื่องน่ารู้ก่อนเลือกสุขภัณฑ์
- บ้านพักอาศัยทั่วไปจะเป็นแบบท่อน้ำทิ้งลงพื้น ส่วนอาคารสูงจะเป็นแบบท่อน้ำทิ้งออกผนัง
- ขนาดของท่อประปาที่เชื่อมต่อกับสุขภัณฑ์ โดยทั่วไปทางน้ำเข้าของสุขภัณฑ์มี 2 ขนาด คือ 4 หุน และ 6 หุน
- อุปกรณ์ต่อเนื่องที่ต้องใช้ร่วมกับสุขภัณฑ์ เช่น สายน้ำดี สต๊อปวาล์ว สายฉีดชำระ หน้าแปลนชักโครก
- ความสูงของฝารองนั่ง S 35 ซม., M 40 ซม., L 45 ซม.
- รูปทรงโดยทั่วไปของหน้าสุขภัณฑ์ ได้แก่ หน้ายาว วงกลม สี่เหลี่ยม ตัวยู
- ควรทดลองนั่งสุขภัณฑ์จริงว่านั่งสบาย หรือเหมาะสมกับสรีระของเราหรือผู้ใช้งานหรือไม่
ช้อปปิ้งสินค้า สุขภัณฑ์ ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ
สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่ายสุขภัณฑ์ โถสุขภัณฑ์ ชักโครก โถส้วม โถปัสสาวะ สายฉีดชำระ ฝารองนั่ง อุปกรณ์ห้องน้ำ อะไหล่สุขภัณฑ์ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว เลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่ฮงทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308