"มิเตอร์ไฟและเบรกเกอร์ทำงานอย่างไร" เลือกแบบไหนให้เหมาะสม
การใช้ไฟฟ้านั้นมีองค์ประกอบมากมาย หนึ่งในนั้นคือการวัดปริมาณการใช้ไฟของเราว่าใช้งานไปเท่าไหร่ ต้องจ่ายค่าไฟกี่บาท หากยังนึกไม่ออกให้ลองนึกถึงเจ้ามิเตอร์ที่ติดอยู่หน้าบ้าน มันจะหมุน ๆ ขณะเรามีการใช้ไฟฟ้า นั่นแหละคือ มิเตอร์ไฟฟ้า มีหน้าที่วัดปริมาณการใช้ไฟในอาคารบ้านเรือนของเรา ซึ่งพอถึงรอบที่จะต้องจ่ายค่าไฟ ก็จะมีเจ้าหน้าที่มาอ่านค่า และจดบันทึกว่าบ้านหลังนั้นหลังนี้ใช้ไฟไปเท่าไหร่ เป็นเงินกี่บาท และวันนี้เราขอพาทุกคนมารู้จักมิเตอร์ให้มากยิ่งขึ้น
มิเตอร์ไฟฟ้า (Meter) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า กิโลวัตต์ฮาวมิเตอร์ (Kilowatt-hour Meter) หรือ วัตต์ฮาวมิเตอร์ (Watt-hour Meter) มีหน่วยเป็นกิโลวัตต์ชั่วโมง (Kilowatt-hour) โดยมีอยู่ 2 ประเภท แบ่งตามระบบไฟฟ้า คือแบบ 1 เฟส (Single phase kilowatt-hour meter) มักใช้กับบ้านเรือนทั่วไป และ 3 เฟส (three phase kilowatt-hour meter) มักใช้กับสถานที่ที่ใช้ไฟเยอะ เช่น บริษัท โรงเรียน โรงแรม
วิธีดูขนาดกระแสไฟมิเตอร์ไฟฟ้าง่าย ๆ
มิเตอร์ไฟฟ้าสำหรับบ้านพักอาศัยมีด้วยกันหลายขนาด มีวิธีดูขนาดกระแสไฟฟ้าบนหน้าปัดง่าย ๆ คือ ตัวเลขข้างหน้าจะบอกขนาดของมิเตอร์ มีหน่วยเป็น A (แอมแปร์) ส่วนตัวเลขที่อยู่ในวงเล็บเป็นค่ากระแสไฟฟ้าสูงสุด ที่มิเตอร์ตัวนั้นจะสามารถรองรับได้ในช่วงเวลาหนึ่ง (ความสามารถในการใช้ไฟฟ้า) เช่น 5(15) A คือ มิเตอร์ขนาด 5A และใช้ไฟฟ้าได้ไม่เกิน 15 A
- ขนาดมิเตอร์ 5(15) เฟส 1 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 10 A
- ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 1 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 11-30 A
- ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 1 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 31-75 A
- ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 1 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 76-100 A
- ขนาดมิเตอร์ 15(45) เฟส 3 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 30 A
- ขนาดมิเตอร์ 30(100) เฟส 3 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 31-75 A
- ขนาดมิเตอร์ 50(150) เฟส 3 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 76-100 A
- ขนาดมิเตอร์ 200 เฟส 3 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน101-200 A
- ขนาดมิเตอร์ 400 เฟส 3 – ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 201-400 A
เวลาเราจะเลือกติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า ก็ต้องดูถึงความเหมาะสมในการใช้งาน เช่น ปริมาณการใช้ไฟ จำนวนเครื่องใช้ไฟฟ้า จำนวนคนในบ้าน ซึ่งมีวิธีคำนวณปริมาณการใช้ไฟฟ้าของเราง่าย ๆ ด้วยการนำกระแสไฟฟ้าจากเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีในบ้านมารวมกัน และนำไปคูณกับ 1.25 (เผื่อปริมาณกระแสไฟฟ้าที่อาจใช้มากขึ้นในอนาคต) ก็จะได้ขนาดมิเตอร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน
ทีนี้เมื่อเรารู้แล้วว่ามิเตอร์ขนาดเท่าไหร่จะเหมาะสมกับบ้านของเรา ก็เข้าสู่ขั้นตอนการขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้านั่นเอง ซึ่งมีอุปกรณ์หนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามคือ เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) เพราะเจ้าเบรกเกอร์จะจำเป็นมาก ๆ ในกรณีการขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว เพราะเราต้องเตรียมทั้งสายไฟ คัทเอาท์หรือเบรกเกอร์ตามขนาดมิเตอร์มาในวันชำระเงิน และแม้ว่าเราจะไม่ได้ขอมิเตอร์ไฟฟ้าชั่วคราว ทั้งการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ก็มีมาตรฐานการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าอยู่ ซึ่งต้องดูทั้งขนาดมิเตอร์และเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกัน
เบรกเกอร์ (Circuit Breaker) คืออะไร ?
- เบรกเกอร์ หรือ เซอร์กิตเบรกเกอร์ อุปกรณ์ช่วยป้องกันความเสียหายของวงจรไฟฟ้า ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าเกิน หรือการลัดวงจร
- เมื่อมีความผิดปกติของวงจรไฟฟ้า เบรกเกอร์จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าทันที
- ใช้แยกจากวงจรไฟฟ้าหลักไปเป็นวงจรย่อย เพื่อใช้ตามส่วนต่าง ๆ ของบ้าน
- มีทั้งชนิดตัดสายเส้นเดียว, 2 เส้น และ 3 เส้น และมีหลายขนาด
- การเลือกเบรกเกอร์ง่าย ๆ สามารถเลือกจากขนาดของมิเตอร์
ตัวอย่างเมื่อเทียบขนาดมิเตอร์ กับ ขนาดเบรกเกอร์ อ้างอิงมาตรฐานการติดตั้งจากการไฟฟ้านครหลวง จะได้ดังนี้
- ขนาดมิเตอร์ 5(15) A : ขนาดสูงสุดของเบรกเกอร์ 16 A
- ขนาดมิเตอร์ 15(45) : ขนาดสูงสุดของเบรกเกอร์ 40-45 A
- ขนาดมิเตอร์ 30(100) : ขนาดสูงสุดของเบรกเกอร์ 100 A
ไม่ว่าจะเลือกอุปกรณ์ใดก็ตามในการติดตั้ง สิ่งสำคัญคือการเลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสมกับรูปแบบของอาคารที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย จึงจำเป็นในการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อความความปลอดภัยต่อตัวเราเอง และผู้อยู่อาศัยทุกคน
ช้อปปิ้งสินค้า ‘มิเตอร์ไฟฟ้าและเบรกเกอร์’ ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ
สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่ายระบบตู้ไฟ มิเตอร์ไฟฟ้า เบรกเกอร์ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว เลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่ฮงทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308