ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
'ถังดับเพลิง' เลือกแบบไหนปลอดภัยที่สุด!

'ถังดับเพลิง' เลือกแบบไหนปลอดภัยที่สุด!


         ถังดับเพลิง (Fire Extinguisher) อุปกรณ์ช่วยลดความเสียหายจากเพลิงไหม้ ซึ่งทุกอาคารบ้านเรือน ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม จำเป็นต้องติดตั้งถังดับเพลิงเพื่อความปลอดภัย และเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายที่กำหนดไว้ด้วย แต่ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักประเภทของเพลิงไหม้กันก่อนดีกว่า เนื่องจากถังดับเพลิงมีหลายประเภท เราจะได้รับมือกับเพลิงไหม้ และเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสมเหตุนั้น ๆ นั่นเอง 

ประเภทของเพลิงไหม้

  1. เพลิงไหม้ประเภท A (Ordinary Combustibles) เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดา ๆ หรือของแข็งที่ติดไฟง่าย ซึ่งเราอาจจะรู้จักกันอยู่แล้ว เช่น กระดาษ ไม้ ผ้า ขยะแห้ง พลาสติกบางชนิด ฟาง ปอ ด้าย นุ่น ฯลฯ มักพบตามอาคารบ้านเรือนทั่วไป และสามารถดับได้ด้วยน้ำเปล่า
  2. เพลิงไหม้ประเภท B (Flammable Liquids) เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นของเหลวติดไฟ เช่น น้ำมันทุกชนิด แอลกอฮอล์ ทินเนอร์ ยางมะตอย จาระบี ก๊าซติดไฟ ฯลฯ พบได้ตามโรงงานผลิตเชื้อเพลิง และปั๊มน้ำมัน ซึ่งพวกนี้จะลุกไหม้เมื่อมีออกซิเจนอยู่โดยรอบ ดังนั้นถ้าจะดับไฟ ก็ต้องทำการตัดออกซิเจนในอากาศโดยรอบนั่นเอง
  3. เพลิงไหม้ประเภท C (Electrical Equipment) เกิดจากอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น มอเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ตัวแปลงกระแสไฟฟ้า สายไฟ ปลั๊กไฟ สวิตช์ ฯลฯ ที่ยังมีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนอยู่ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความร้อนสูง ถ้าอุปกรณ์พวกนี้ชำรุด ก็อาจทำให้เกิดเพลิงไหม้ ดังนั้นจึงต้องตัดระบบไฟฟ้าก่อนทำการดับไฟ
  4. เพลิงไหม้ประเภท D (Combustible Metals) เกิดจากโลหะที่ติดไฟได้ อย่างพวกไทเทเนียม อะลูมิเนียม แมกนีเซียม โพแทสเซียม มักพบได้ตามห้องทดลองหรือห้องปฏิบัติการ และไม่สามารถดับด้วยน้ำเปล่า
  5. เพลิงไหม้ประเภท K (Combustible Cooking) เกิดจากน้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ หรือแม้แต่ของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงที่พบได้ในครัวเรือน ร้านอาหาร ห้องอาหาร เป็นต้น 


ประเภทถังดับเพลิง

จะต้องเลือกนำไปติดตั้ง และใช้งานตามพื้นที่หรือจุดที่เหมาะสมกับเพลิงไหม้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งบนตัวถังดับเพลิงจะมีสัญลักษณ์ตามมาตรฐานสากลที่จัดแบ่งตามชนิดของเชื้อเพลิง โดยใช้สัญลักษณ์ ดังนี้ 
  1. ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้ง (Dry Chemical Extinguishers) ส่วนใหญ่ตัวถังจะเป็นสีแดง บรรจุผงเคมีแห้งและอัดก๊าซไนโตรเจน ที่สามารถระงับปฏิกิริยาเคมีของการเกิดเพลิงไหม้อย่างมีประสิทธิภาพ ราคาประหยัด เหมาะกับเพลิงประเภท A, B และ C (ขึ้นอยู่กับผงเคมีแห้งภายใน โปรดอ่านฉลากบนตัวถัง) ซึ่งถังดับเพลิงประเภทนี้ฉีดแล้วจะเป็นฝุ่นผงฟุ้งกระจาย
  2. ถังดับเพลิงชนิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2 Extinguishers) จะบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ฉีดออกมาจะเป็นไอเย็นคล้ายน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนของเพลิงไหม้ และดับไฟอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาประหยัด เหมาะกับเพลิงประเภท B และ C ส่วนใหญ่เป็นถังสีแดง และมีน้ำหนักมาก
  3. ถังดับเพลิงชนิดน้ำ (Water Extinguishers) ส่วนใหญ่ถังเป็นสีเงินหรือฟ้า และใช้กับเพลิงประเภท A เท่านั้น ภายในบรรจุน้ำธรรมดาและก๊าซ เหมาะกับการติดตั้งใช้งานภายในอาคาร บ้านพัก ที่อยู่อาศัย
  4. ถังดับเพลิงชนิดโฟม (Foam Extinguishers) ส่วนใหญ่ถังเป็นสีเงิน มีหัวฉีดยาวกว่าหัวฉีดของถังดับเพลิงประเภทอื่น ๆ เหมาะกับเพลิงประเภท A และ B ห้ามใช้ดับไฟฟ้าหรือเพลิงประเภท C โดยเด็ดขาด เพราะตัวถังสามารถนำไฟฟ้าได้ ซึ่งภายในบรรจุน้ำผสมโฟมเข้มข้น เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟมปกคลุมเชื้อเพลิง ทำให้เพลิงขาดออกซิเจนและดับในที่สุด
  5. ถังดับเพลิงชนิดน้ำยาเหลวระเหย (Clean Agent) แต่ก่อนตัวถังจะเป็นสีเหลือง และภายในถังจะบรรจุสารฮาโลตรอน (Halotron) แต่เนื่องจากสารดังกล่าวส่งผลเสียต่อชั้นบรรยากาศ เลยถูกยกเลิกไปแล้วเปลี่ยนมาใช้สารพวก HFC-236fa แทน ทำให้ตัวถังเปลี่ยนมาใช้สีเขียว เพื่อบ่งบอกว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและผู้ใช้งาน แถมยังไม่ทิ้งคราบตกค้าง และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกด้วย
  6. ถังดับเพลิงชนิด Wet Chemical เหมาะกับการดับไฟประเภท K หรือเพลิงไม้จากน้ำมันที่ใช้ในการประกอบอาหาร ไขมันสัตว์ ตามร้านอาหาร ห้องอาหาร ครัว โรงอาหาร ซึ่งภายในถังจะบรรจุสารดับเพลิง Potassium Acetate 
         เมื่อเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่และการใช้งาน รวมถึงศึกษาวิธีการดับเพลิงจากผู้จัดจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว เราควรตรวจเช็กสภาพอุปกรณ์ดับเพลิงอย่างสม่ำเสมอ และอย่าลืมว่าถังดับเพลิงก็มีวันหมดอายุเหมือนกัน โดยแบบชนิดผงเคมีแห้ง จะมีอายุการใช้งานประมาณ 5 ปี ส่วนถังดับเพลิงคาร์บอนไดออกไซด์ และถังดับเพลิงน้ำยาเหลวระเหย มีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี ดังนั้นนอกจากจะต้องรอบรู้ในการรับมือเพลิงไหม้ต่าง ๆ และเลือกถังดับเพลิงให้ตอบโจทย์แล้ว ยังควรหมั่นตรวจสอบเจ้าถังดับเพลิงแม้เราจะไม่ได้ใช้งานมันเลยก็ตาม เพื่อความปลอดภัยทั้งต่ออาคารทรัพย์สิน และทุกชีวิตในอาคารบ้านเรือน
ช้อปปิ้งสินค้า ถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิง ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ
สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่ายอุปกรณ์ความปลอดภัย ถังดับเพลิง เครื่องดับเพลิง อุปกรณ์ดับไฟ อุปกรณ์ความปลอดภัย ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว เลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308