ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
ชวนรู้จักและวิธีเลือก "ถังบำบัดน้ำเสีย" ไอเทมที่พร้อมบำบัดทุกสิ่งปฏิกูลได้อยู่หมัด

ชวนรู้จักและวิธีเลือก "ถังบำบัดน้ำเสีย" ไอเทมที่พร้อมบำบัดทุกสิ่งปฏิกูลได้อยู่หมัด


ถังบําบัดน้ำเสีย เป็นถังสำเร็จรูปที่รวมทั้งบ่อซึม และบ่อเกรอะเข้าไว้ด้วยกันในหนึ่งเดียว ใช้สำหรับบรรจุของเสียที่เราขับถ่ายอย่างอุจจาระหรือปัสสาวะ ทำงานด้วยการใช้จุลินทรีย์กำจัดจุลินทรีย์กากของของเสีย ซึ่งไหลลงสู่ถังบําบัดน้ำเสียสำเร็จรูป และจะตกตะกอนอยู่ก้นถังที่เต็มไปด้วยจุลินทรีย์คอยย่อยสลาย ทำให้ไม่มีกลิ่นและไม่มีตะกอนตกค้างในถัง ส่วนน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้ว ก็จะสามารถทิ้งลงสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะได้ โดยตัวถังบําบัดน้ำเสียจะติดตั้งฝังอยู่ใต้ดิน ทำให้มีการดูแลรักษาที่ค่อนข้างยาก จึงจำเป็นต้องเลือกถังที่ได้คุณภาพ ผ่านมาตรฐาน มอก. รวมถึงเลือกประเภทถังบำบัดน้ำเสียที่เหมาะสม และผู้ขายที่มีบริการหลังการขาย เพื่อการใช้งานที่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด

ประเภทของถังบำบัดน้ำเสีย 

  • ถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ : เป็นถังบำบัดน้ำเสียรูปทรงกลม ที่ได้มีการติดตั้งระบบปั๊มอากาศ เพื่อช่วยในการเติมอากาศเข้าไปยังภายในตัวถังบำบัด และช่วยเพิ่มออกซิเจนที่เชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในถังบำบัด สามารถนำไปใช้ในการย่อยสลายสิ่งสกปรก หรือสิ่งปฏิกูลได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งทำให้น้ำเสียที่ถูกบำบัดด้วยถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศมีกลิ่นเหม็นน้อยลง เช่นเดียวกันกับค่า BOD ที่ลดน้อยลงตามไปด้วยเช่นกัน หมายความว่า น้ำเสียที่ผ่านการปรับปรุงคุณภาพด้วยถังชนิดนี้จะมีความสะอาด และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากกว่าถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ 
    • ศัพท์ที่น่าสนใจ : ค่า BOD (Biochemical Oxygen Demand) คือค่าวัดความเน่าเสียจากน้ำที่ใช้อุปโภคบริโภคที่ถูกทิ้งลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะ หรือจากเศษใบไม้ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปริมาณออกซิเจน ที่แบคทีเรียต้องการใช้ในการย่อยสลายสารอินทรีย์  

พูดง่าย ๆ คือถ้าน้ำเสียมีค่า BOD ต่ำ เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำจะไม่ส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำนั้น เนื่องจากแบคทีเรียต้องการออกซิเจนในการย่อยสลายน้อย แต่ถ้าน้ำเสียมีค่า BOD สูง เมื่อถูกทิ้งลงในแหล่งน้ำ จะทำให้ปริมาณออกซิเจนในแหล่งน้ำลดลงมาก จนทำให้สิ่งมีชีวิตในแหล่งน้ำนั้นไม่สามารถอยู่ได้  

  • ถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศเป็นถังบำบัดที่ได้รับความนิยมในการนำมาใช้งานอย่างแพร่หลายในบ้านพักอาศัย รวมไปถึงออฟฟิศที่มีพนักงานจำนวนไม่มาก เนื่องจากมีราคาย่อมเยากว่าถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ แต่ก็แลกมาด้วยการช่วยย่อยสลายของเสียรวดเร็วรวมถึงสิ่งปฏิกูลของเชื้อจุลินทรีย์ที่อยู่ภายในถังบำบัดที่ลดลงด้วยเช่นกัน จึงสังเกตได้ว่าน้ำเสียที่ได้มาจากการปรับปรุงคุณภาพด้วยถังบำบัดน้ำเสียแบบไม่เติมอากาศ อาจส่งกลิ่นไม่พึงประสงค์มากกว่าการใช้งานถังเก็บน้ำแบบเติมอากาศทั่วไป

วัสดุที่นิยมใช้ผลิตถังบำบัดน้ำเสีย 

  • ถังบำบัดน้ำเสียชนิดถังพลาสติก : ถูกผลิตขึ้นมาด้วยพลาสติกชนิดโพลีเอทิลีนคุณภาพสูง (Polyethylene : PE) ทำให้มีคุณสมบัติที่ดีในด้านความแข็งแรง คงทน สามารถรองรับน้ำหนักได้มาก และสามารถทนทานต่อความเป็นกรด-ด่างที่ค่อนข้างสูง ที่บริเวณใต้พื้นดินได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังสามารถช่วยป้องกันการซึมผ่านของความชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ถังบำบัดน้ำเสียแบบถังไฟเบอร์กลาส : ถูกผลิตขึ้นมาจากเส้นใยแก้ว ที่ถูกนำมาเสริมความแข็งแรงด้วยพลาสติกเรซิ่น ทำให้ถังชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทานมาก อีกทั้งยังไม่มีปัญหาเกี่ยวกับการแตกหักรั่วซึม แม้ว่าจะมีการใช้งานมาอย่างยาวนานก็ตาม จึงเหมาะสำหรับการนำมาใช้เป็นถังบำบัดน้ำเสียในโครงการคอนโดมิเนียม โรงแรม หรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่มีปริมาณน้ำเสียให้ต้องรองรับในแต่ละวันค่อนข้างมาก  

เลือกถังบำบัดน้ำเสียให้เหมาะกับการใช้งาน 


  1. คำนึงถึงความเหมาะสมของพื้นที่ โดยใช้พื้นที่ประมาณความกว้าง 1 เมตร หรือมีขนาดใหญ่กว่าขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย ส่วนความลึกเหมาะสมกับขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย และก่อฐานรองรับถังบำบัดน้ำเสียด้วยซีเมนต์ พร้อมการตรวจสอบเศษวัสดุที่อาจทำให้ถังบำบัดน้ำเสียเสียหายได้ 
  2. คำนึงถึงวัสดุของถังบำบัดน้ำเสีย เพื่อความความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน เช่น ถัง PE จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี วัสดุมีความแข็งแรง ไม่แตกหักง่าย มีความคงทนต่อกรดด่างและสารเคมี รองรับน้ำหนักได้ และป้องกันปัญหาการรั่วซึมของความชื้นได้ดี
  3. คำนึงถึงงบประมาณในการดูแลรักษา เนื่องจากหลังติดตั้งไปแล้ว จะมีค่าใช้จ่ายในการดูดของเสียหลังจากผ่านการย่อยสลายของแบคทีเรียและสารอินทรีย์ ออกจากถังบำบัดน้ำเสีย
  4. คำนึงถึงขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย โดยวิธีการคำนวณเบื้องต้น คือ ขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย (ลิตร) = จำนวนผู้อาศัยภายในบ้าน x (ปริมาณการใช้น้ำ/วัน/ผู้อาศัยภายในบ้าน x 80%) x เวลาที่ใช้ในการบำบัดน้ำเสียแต่ละครั้ง (โดยประมาณ คือ 2 วัน) ทั้งนี้ตามกฎหมายมาตรฐานการจัดสรรที่ดิน ควรใช้ขนาดของถังบำบัดน้ำเสีย 1,600 ลิตร / บ้าน 1 หลัง
  5. คำนึงถึงแหล่งขายถังบำบัดน้ำเสียที่น่าเชื่อถือ เช่น การเลือกซื้อผ่านห้างร้านชั้นนำ หรือผ่านบริษัทโดยตรง มีขนาดของถังบำบัดน้ำเสียให้เลือกอย่างหลากหลาย เหมาะสมต่อความต้องการ มีบริการหลังการขาย และมีการรับประกันคุณภาพ 

ดูแลถังบำบัดน้ำเสียให้ใช้งานได้ดี 

  • ไม่ทิ้งสิ่งที่จะทำให้เกิดการอุดตัน เช่น ผ้าอนามัย ทิชชู่หนา หรือสิ่งของชิ้นเล็กลงในโถส้วม เพราะวัสดุเหล่านี้จุลินทรีย์ย่อยสลายได้ยาก จะทำให้บ่อเกรอะเต็มเร็วกว่าปกติและทำให้  ท่ออุดตันได้ 
  • ควรสูบบ่อเกรอะแม้จะยังไม่เต็ม ผู้ใช้ควรสูบบ่อเกรอะทุก 1-2 ปี แม้ว่าบ่อเกรอะจะยังไม่เต็มก็ตาม เพื่อให้บ่อเกรอะมีประสิทธิภาพในการบำบัดดีอยู่เสมอ และยังเป็นการป้องกันไม่ให้ตะกอนเข้าไปสะสมที่บ่อกรองไร้อากาศด้วย 
  • หมั่นสังเกตการไหลของน้ำ ควรตรวจเช็กอย่างสม่ำเสมอว่าน้ำไหลเป็นปกติหรือไม่ มีการติดขัดหรือเปล่า ซึ่งส่วนมากการไหลติดขัดอาจจะเกิดจากมีวัสดุชิ้นใหญ่อุดตามท่อ หรือเป็นเพราะท่อทรุดตัว ให้พิจารณาแก้ไขเป็นกรณีไป
  • ในกรณีที่ต้องใช้อุปกรณ์ประกอบอื่น เช่นเครื่องสูบน้ำ เครื่องเป่าอากาศ เป็นต้น ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตของอุปกรณ์นั้น 

ช้อปปิ้งสินค้า ถังบำบัดน้ำเสีย ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับ ไทวัสดุ 

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่ายถังบำบัดน้ำเสีย และอุปกรณ์เสริมถังเก็บน้ำ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว เลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308