ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
ระบบตู้ไฟ
ไทวัสดุ จำหน่ายตู้ควบคุมไฟ เบรกเกอร์ มิเตอร์ฟฟ้า หม้อแปลง และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่าง ๆ ครบจบในงานไฟฟ้า ที่เลือกช้อปตามต้องการได้แล้วที่นี่
รอบรู้กับไทวัสดุ!
มิเตอร์ไฟและเบรกเกอร์ทำงานอย่างไร? เลือกแบบไหนให้เหมาะสม
สิ่งสำคัญในการเลือกอุปกรณ์มิเตอร์ไฟฟ้าและเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับรูปแบบของอาคารที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย จึงจำเป็นในการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อความความปลอดภัยต่อตัวเราเอง และผู้อยู่อาศัยทุกคน
สิ่งสำคัญในการเลือกอุปกรณ์มิเตอร์ไฟฟ้าและเบรกเกอร์ให้เหมาะสมกับรูปแบบของอาคารที่พักอาศัย หรืออาคารพาณิชย์ เพื่อตอบโจทย์ความปลอดภัยในการใช้งาน เพราะอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลย จึงจำเป็นในการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด เพื่อความความปลอดภัยต่อตัวเราเอง และผู้อยู่อาศัยทุกคน

ตู้ไฟ

ตู้ไฟ หรือ ตู้สวิตช์บอร์ด เป็นตู้ที่เป็นแหล่งรวมอุปกรณ์ควบคุมไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นแผงรวมวงจร เพื่อควบคุมการจ่ายไฟฟ้าซึ่ง มีทั้งขนาดเล็ก-กลางไปจนถึงขนาดใหญ่ที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก มักจะติดตั้งตามอาคาร ซึ่งรูปแบบการวางระบบไฟฟ้าจะแตกต่างกันไปตามความต้องการใช้งาน โดยการติดตั้งตู้ไฟจะต้องอยู่ในห้อง หรืออยู่ในสถานที่ที่จัดไว้โดยเฉพาะสำหรับติดตั้งตู้ไฟ ไม่ควรมีท่อ หรือข้าวของเครื่องใช้อื่นอยู่ภายในห้อง ทางเดิน หรือทางเข้าห้อง ยกเว้นระบบดับเพลิงสำหรับตู้ไฟ และระบบปรับอากาศ ไม่ควรตั้งอยู่ในพื้นที่มีวัตถุติดไฟได้ง่าย แห้งสนิท เนื่องจากต้องป้องกันไม่ให้เกิดเพลิงไหม้ และควรเป็นบริเวณที่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อการตรวจสอบบำรุงรักษาที่สะดวก

ข้อดีของการมีตู้ไฟ

  • ตู้ไฟช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ไฟไหม้ ไฟดูดได้ ทำให้ระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพมากขึ้น และมีความปลอดภัยมากขึ้น
  • การมีตู้ไฟจะช่วยยืดอายุการใช้งานของสายไฟ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่อยู่ภายในตู้ไฟให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 
  • การมีตู้ไฟจะช่วยป้องกันละอองฝุ่น ความชื้น หรือหยดน้ำ เพื่อป้องกันอันตรายและความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ช่างไฟจะสามารถตรวจสอบสายไฟฟ้าที่อยู่ภายในตู้ไฟได้สะดวกทั่วถึง อีกทั้งยังพร้อมทำงานได้ตลอดเวลา และมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาไม่สูง

ประเภทของตู้ไฟ 4 แบบ

  1. ตู้ไฟ MDB (Main Distribution Board) ทำหน้าที่ควบคุมการจ่ายไฟฟ้า และรับไฟฟ้าจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้า หรือหม้อแปลงมาจ่ายให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ต้องการใช้ไฟฟ้า มีความทนทานทั้งจากแรงดัน ความร้อน รวมไปถึงการกัดกร่อนจากความชื้นและสารเคมี ซึ่งตู้ไฟนี้ประกอบด้วยอุปกรณ์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นบัสบาร์ เครื่องวัดไฟฟ้า เซอร์กิตเบรกเกอร์ เป็นต้น
  2. ตู้ไฟ SDB (Sub Distribution Board) มีหน้าที่ควบคุมระบบไฟฟ้า เพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังตู้อื่น เหมาะกับงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งการทำงานเป็นสัดส่วน เวลาจะซ่อมบำรุงก็สามารถทำได้ทันทีโดยตัดไฟตู้ SBD บริเวณนั้น แต่บริเวณส่วนอื่น ของอุตสาหกรรมก็ยังใช้กระแสไฟฟ้าได้ปกติ
  3. ตู้ไฟ PB (Panel Board) หรือ ตู้โหลดเซ็นเตอร์ (Load Center) เป็นตู้ที่เหมาะสำหรับการควบคุมไฟฟ้าในอาคารขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมทั้งโรงงานอุตสาหกรรม มีแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์อยู่ภายใน ที่ใช้ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ 
  4. ตู้ไฟ LP (Load Panel) เป็นตู้ที่มีสวิตช์ใช้ควบคุมส่วนของวงจรไฟฟ้าย่อย ใช้ควบคุมไฟในห้องที่ต้องการควบคุม LP จะมีเซอร์กิตเบรกเกอร์หลายตัววางเรียงกันอยู่ในกล่อง ทำให้ตู้ชนิดนี้มีขนาดกะทัดรัด ซึ่งในบ้างอาคาร อาจใช้ LP ควบคุมแทนตู้ไฟแบบ SDB ก็ได้ ทั้งนี้ตู้ LP สามารถแยกย่อยได้ดังนี้
    • Load Panel 3 เฟส : เรียกว่า Load Center เป็นแผงเซอร์กิตเบรกเกอร์ ที่ควบคุมการจ่ายกระแสไฟฟ้าสู้เครื่องใช้ไฟฟ้า
    • Load Panel 1 เฟส : เรียกว่า Consumer Unit เป็นแผงไฟฟ้าสำเร็จรูปที่นิยมใช้ในบ้าน หรืออาคารที่มีขนาดเล็กที่ใช้ระบบไฟ 1 เฟส 220 โวลต์

เลือกตู้ไฟอย่างไรดี

ตู้ไฟที่นิยมใช้กับบ้านพักอาศัย หรือ “ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต” ไทวัสดุมีจำหน่ายหลากหลายแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็น BTICINO, CT Electric, EAGLE, HACO, RACER, LEETECH รวมถึงแบรนด์อะไหล่ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอีกมากมาย ที่เชื่อมั่นได้ในคุณภาพและมาตรฐานการผลิต คุณสามารถเลือกเองได้เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนในครอบครัว ทั้งนี้เราได้สรุปข้อควรพิจารณาก่อนซื้อตู้ไฟฟ้ามาฝากทุกคนด้วย
  • เลือกประเภทการติดตั้ง : ตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตหลัก ๆ จะมี 2 แบบ แบบปลั๊กออน (Plug-on) มีข้อดี คือไม่ต้องเดินสายไฟจากเมนเบรกเกอร์ไปยังเบรกเกอร์ลูกย่อย ทำให้ประหยัดเวลาในการติดตั้ง และแบบรางปีกนก (DIN-Rial) แม้จะเป็นตู้คอนซูมเมอร์ยูนิตที่ต้องเดินสายระหว่างเมนกับลูกย่อย แต่ข้อดีคือมีราคาถูกกว่า และมีความยืดหยุ่นในงานติดตั้งมากกว่า
  • จำนวนช่องลูกเบรกเกอร์ : จะมีตั้งแต่ 4-20 ช่องต่อ 1 ตู้ โดย 1 ช่อง จะรองรับลูกเบรกเกอร์ได้ 1 ชิ้น และลูกเบรกเกอร์ 1 ชิ้น สามารถรองรับเครื่องใช้ไฟฟ้าได้ทั้งแบบชิ้นเดียว เช่น แอร์ หรือหลายชิ้น เช่น ดวงไฟ ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรว่าเป็นแบบไหน ทั้งนี้ไม่ควรให้เครื่องใช้ไฟฟ้า ที่ใช้กระแสไฟมากต่อเข้าเบรกเกอร์ชิ้นเดียวกัน และอย่าลืมเผื่อช่องสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้า ที่อาจติดตั้งเพิ่มในอนาคตไว้ด้วย
  • เมนเบรกเกอร์ และ ลูกเบรกเกอร์ : แบ่งเป็น 2 รูปแบบ 
    • แบบ MCB จะไม่มีการตัดไฟดูด และมีราคาถูกกว่า
    • แบบ RCBO นิยมใช้กับปลั๊กออน และกันดูด RCCB นิยมใช้กับรางปีกนก เป็นเบรกเกอร์ที่มีความสามารถตัดไฟ เมื่อมีการลัดวงจรไฟรั่วในตัว
  • คุณภาพของแบรนด์ : ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อตู้ไฟ หรือตู้คอนซูมเมอร์ยูนิต คือความน่าเชื่อถือของแบรนด์ ควรเลือกซื้อสินค้าจากแบรนด์ที่ได้มาตรฐาน มั่นใจได้ถึงความปลอดภัยตลอดการใช้งาน ต้องมีมาตรฐาน มอก. และมาตรฐานสากล IEC
  • เลือกวัสดุที่แข็งแรง : เลือกตู้คอนซูมเมอร์ทนทาน ไม่เป็นวัสดุลามไฟ หรือเป็นเชื้อเพลิง ควรเลือกตู้พลาสติกชนิดที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายจากกระแสไฟฟ้าด้วย
  • ต้องหาซื้อง่าย : ตู้ไฟบ้าน ตู้คอนซูมเมอร์ รวมถึงอุปกรณ์หรืออะไหล่ในระบบไฟฟ้า ควรจะต้องหาซื้อได้ง่าย เพราะในกรณีที่เบรกเกอร์ชำรุด หรือต้องการเพิ่มวงจรภายในบ้าน จะต้องสามารถหาซื้อมาเปลี่ยนได้อย่างสะดวก

ช้อปปิ้งสินค้า ตู้ไฟฟ้า ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับ ไทวัสดุ

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่ายตู้ไฟฟ้า ยูคอนซูมเมอร์ยูนิต อุปกรณ์ไฟฟ้า ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว เลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308

อ่านเพิ่มเติม