ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
กาวยาแนวและกาวซีเมนต์
รายการที่ 1 - 48 จาก 105 รายการ
กาวยาแนว (สำหรับกระเบื้องขัดขอบ) จระเข้ รุ่นเทอร์โบพลัส C02121008 ขนาด 0.5 กก. สีขาวไข่มุก
-21%
จระเข้
กาวยาแนว (สำหรับกระเบื้องขัดขอบ) จระเข้ รุ่นเทอร์โบพลัส C02121008 ขนาด 0.5 กก. สีขาวไข่มุก
รหัสสินค้า: 60293686
(1)
฿
฿113
89
/EACH
compare

ยาแนว

ในทุกรายละเอียดของอาคารบ้านเรือน ตั้งแต่หลังคาไล่จนลงมาถึงพื้นบ้าน ทุกส่วนล้วนมีความสำคัญที่เราต้องใส่ใจดูแล ไม่เว้นแม้แต่รายละเอียดเล็ก ๆ อย่าง “ยาแนวกระเบื้อง” ที่มองเผิน ๆ อาจจะดูกลมกลืนไปกับพื้นกระเบื้อง ซึ่งเป็นส่วนที่เราเดินเหยียบย่ำกันอยู่ทุกวัน แต่ถ้าลองสังเกตยาแนวดูแล้ว ส่วนนี้นี่แหละที่เป็นจุดสำคัญที่ช่วยให้พื้นบ้านดูสะอาด เรียบร้อย และสวยงามลงตัวกว่าที่เคย โดยยาแนว หรือกาวยาแนว คือวัสดุที่ช่วยให้กระเบื้องลายสวยที่คุณเลือกมากับมือ ดูกลมกลืนเข้ากับตัวบ้านมากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแค่นั้นกาวยาแนวซึ่งมีคุณสมบัติยืดหยุ่น จึงช่วยรองรับการยืดหดตัวของกระเบื้องได้เป็นอย่างดี แถมยังช่วยป้องกันฝุ่น ไร แมลงตัวจิ๋ว รวมถึงน้ำขังที่จะเข้าไปยังบริเวณร่องพื้นหรือร่องกระเบื้องได้อีกด้วย 

กาวยาแนว กับ กาวซีเมนต์ ต่างกันอย่างไร 

เวลาหาข้อมูลเกี่ยวกับกาวยาแนว มักจะมีวัสดุชนิดหนึ่งที่จะเด้งขึ้นมาให้คุณเกิดความสับสน นั่นก็คือ “กาวซีเมนต์” ต้องขออธิบายเลยว่าเวลาเราปูกระเบื้อง ปกติแล้วจะมีขั้นตอนหลัก ๆ คือ เริ่มด้วยการปรับระดับพื้นที่ที่จะปู จากนั้นทำการรองกระเบื้องด้วยปูนกาวซีเมนต์ แล้วตามด้วยการปูกระเบื้อง เมื่อเสร็จทุกขั้นตอนแล้ว เราจะทำการลงยาแนวเป็นขั้นตอนสุดท้าย พูดง่าย ๆ คือตัวปูนกาวซีเมนต์จะ ใช้ยึดพื้นกระเบื้องไว้กับพื้นบ้าน โดยเวลาเราใช้กาวซีเมนต์ ก็จำเป็นต้องเว้นช่องให้มีรูโพรงไว้เล็กน้อยเพื่อป้องกันกระเบื้องแตกจากแรงดันและความร้อน จากนั้นก็จะเป็นหน้าที่ของกาวยาแนวที่จะมาปิดร่องดังกล่าวเพื่อป้องกันปัญหาต่าง ๆ ที่จะตามมาอย่างที่เราอธิบายไว้ข้างต้นนั่นเอง  

ชนิดของวัสดุยาแนว หรือ กาวยาแนว 

  1. ยาแนวซิลิโคน : เป็นยาแนวที่มีความยืดหยุ่น 25% เป็นสารประกอบอนินทรีย์โดยทำมาจากวัสดุโพลิเมอร์ ทนรังสียูวี ใช้งานได้หลากหลาย จะใช้ในอาคารก็ได้ หรือนอกอาคารก็ดี ถือเป็นยาแนวที่ได้รับความนิยมากที่สุด เนื่องจากมีแรงยึดเกาะสูง ซึ่งยาแนวซิลิโคนมักใช้กับรอยต่อระหว่างอะลูมิเนียมกับกระจก โดยเฉพาะอาคารสูงที่มีการติดตั้งกระจกจำนวนมาก ยาแนวประเภทนี้ไม่สามารถทาสีทับได้ แต่มีหลากหลายสีให้เลือกใช้งาน อย่างสีขาวใช้กับงานสุขภัณฑ์ สีใสใช้กับงานกระจก สีดำ ใช้กับพื้นผิวสีเข้ม เป็นต้น ทั้งนี้ยาแนวซิลิโคนจะมีด้วยกัน 2 ประเภท ดังนี้ 
    • ยาแนวซิลิโคนแบบมีกรด – จะมีกลิ่นเหม็นเปรี้ยว ซึ่งเป็นสารระเหยที่ทำให้ยาแนวแห้งเร็ว เหมาะกับงานปิดรอยต่อระหว่างกระจกกับกระจก เพราะมีแรงยึดเกาะสูง แต่พื้นผิวพวกกลุ่มโลหะและหินอ่อนจะไม่เหมาะกับยาแนวซิลิโคนแบบมีกรด เพราะกรดจะกัดกร่อนพื้นเหล่านั้นได้  
    • ยาแนวซิลิโคนแบบไม่มีกรด – จะไม่มีกลิ่นเหม็น แห้งช้ากว่า มีแรงยึดเกาะน้อยกว่า แต่จะมีความยืดหยุ่นมากกว่า จึงเหมาะกับงานคอนกรีต ปูน อิฐ ไม้ เซรามิก และอะลูมิเนียม เราควรเลือกใช้ยาแนวให้เหมาะกับชนิดของพื้นผิว เพื่อไม่ทำให้พื้นผิวเสียดาย และเพื่อการใช้งานที่มีประสิทธิภาพ 
  2. ยาแนวอะคริลิก : เป็นยาแนวที่มีความยืดหยุ่นน้อยสุดในบรรดายาแนวทั้งหมด เพียง 5% ทำมาจากวัสดุกลุ่มไฮโดรคาร์บอน (คาร์บอน ไฮโดรเจน ออกซิเจน) มีน้ำเป็นตัวทำละลาย จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้ในพื้นที่เปียกชื้น แต่ถ้าใช้ในพื้นที่เหมาะสม ยาแนวตัวนี้เมื่อแข็งตัวแล้วก็จะไม่ละลายน้ำ โดยยาแนวอะคริลิกจะเหมาะกับงานปิดรอยต่อ งานขัดตกแต่งผิว สามารถทาสีทับได้ มีราคาถูก ใช้ได้กับทุกพื้นผิว แต่ข้อเสียคือมียืดหยุ่นน้อย รับแรงได้น้อย ไม่ทนแดด จึงไม่เหมาะกับงานภายนอก 
  3. ยาแนวโพลียูริเทน หรือ ยาแนวพียู (PU) : เป็นยาแนวที่มีความยืดหยุ่น 35% มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทาน แห้งแล้วไม่หดตัว สามารถทาสีทับได้ และทนแสง UV ได้ในระดับหนึ่ง จึงใช้งานได้ทั้งภายในและนอกอาคาร ซึ่งยาแนวพียูจะเหมาะกับงานอุดรอยต่อระหว่างโครงสร้างของอาคาร ปิดรอยต่อเมทัลชีท แผ่นพรีคาสท์ คอนกรีต อะลูมิเนียม ไม้ เหล็ก กระจก โพลีคาร์บอเนต อุดรอยต่อกระเบื้องมุงหลังคา ใช้ยาแนวกระเบื้องเซรามิค หิน สุขภัณฑ์ เป็นต้น 
  4. ยาแนวโมดิฟายซิลิโคน หรือ ยาแนวไฮบริด : เป็นยาแนวที่พัฒนาเพื่อแก้ปัญหาของยาแนวแบบเดิม โดยเอาข้อดีของซิลิโคนด้านป้องกันรังสี UV และพียูที่สามารถทาสีทับได้มารวมกัน จึงเป็นยาแนวที่สามารถใช้งานในพื้นที่เปียกชื้นได้ ให้การยึดเกาะสูง และใช้ได้กับวัสดุเกือบทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต โลหะ หินธรรมชาติ สเตนเลส, อะลูมิเนียม พีวีซี ไม้ ไฟเบอร์ซีเมนต์ โพลีสไตรีน ฯลฯ โดยไม่มีกรดที่เป็นอันตราย จึงไม่เกิดปฏิกิริยากับโลหะ และไม่มีกลิ่นฉุน รวมถึงกลิ่นไม่แรง และไม่มีสารพิษไอโซไซยาเนต หรือกรดที่เป็นอันตราย ทำให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งานนั่นเอง

เลือกยาแนวแบบไหนให้เหมาะกับงานของคุณ 

  • ยาแนวธรรมดา : เป็นยาแนวที่ใช้งานได้ทั่วไป มีราคาย่อมเยา แต่จะไม่สามารถป้องกันเชื้อราดำได้ จึงเหมาะกับการใช้งานในพื้นที่ที่ไม่มีความชื้น อย่างพื้นที่ภายในตัวอาคาร ไม่เหมาะกับพื้นที่ภายนอกอาคาร 
  • ยาแนวป้องกันเชื้อรา : เป็นยาแนวที่เหมาะสำหรับพื้นกระเบื้องและผนังทั่วไป มีประสิทธิภาพช่วยป้องกันและยับยั้งการเกิดเชื้อรา ทำความสะอาดได้ง่าย แต่จะมีราคาที่สูง ถือเป็นยาแนวชนิดที่นิยมใช้กันมากที่สุด เหมาะกับพื้นที่มีความชื้น เช่น ห้องน้ำ พื้นที่ภายนอกอาคาร  
  • ยาแนวกระเบื้องร่องเล็ก : เป็นยาแนวที่มีเนื้อเหลวเป็นพิเศษ เพื่อช่วยในการไหลตัวเข้าไปตามร่องกระเบื้องได้เป็นอย่างดี เลยเหมาะกับการปูกระเบื้องที่ต้องปูชิดกัน เวลาใช้งานไม่ควรผสมรอไว้ เนื่องจากเป็นยาแนวชนิดแห้งตัวเร็วเป็นพิเศษ เมื่อยาแนวชนิดนี้แห้งตัวแล้ว ไม่ควรใส่น้ำเข้าผสม เนื่องจากจะทำให้ยาแนวมีประสิทธิภาพลดลง 
  • ยาแนวกระเบื้องร่องใหญ่ : เหมาะกับการใช้งานในการปูกระเบื้องที่มีร่องยาแนวใหญ่ ซึ่งลักษณะของยาแนวจะมีเนื้อหยาบ สามารถเพิ่มพื้นที่กระเบื้องได้มากยิ่งขึ้น ทำให้การเติมร่องกระเบื้องได้มีความสมบูรณ์ 
  • ยาแนวสระว่ายน้ำ หรือ ยาแนวกระเบื้องแบบทนแรงอัดน้ำ : เป็นกาวยาแนวสำหรับงานปูกระเบื้องสระว่ายน้ำ สปา และซาวน่า เนื่องจากเป็นยาแนวที่รองรับแรงอัด หรือแรงดันได้ดี ทนต่อคลอรีน 
  • ยาแนวอีพ็อกซี่ : เป็นกาวยาแนวชนิดที่ดีที่สุด เหมาะกับพื้นที่ที่ต้องการความทนทาน และความสะอาดสูง มีความทนทานต่อสารเคมี และรับมือกับแรงดันน้ำได้ดีเยี่ยม จึงเหมาะกับพื้นโรงงาน สระว่ายน้ำ ทั้งนี้กาวยาวแนวชนิดนี้จะมีราคาค่อนข้างสูง และมีส่วนผสมที่ซับซ้อน เวลาใช้งานก็ควรเลือกใช้ช่างที่มีความชำนาญด้วย 

วิธีทำความสะอาดยาแนวแบบง่าย ๆ ที่คุณเองก็ทำได้ 

  • ใช้กรดจากน้ำส้มสายชู : น้ำสมสายชูถือเป็นของก้นครัวที่นำไปใช้ทำความสะอาดได้หลากหลายพื้นผิว สำหรับคราบดำที่เกาะในร่องยาแนว และผิวกระเบื้องจนฝังลึก ให้ลองใช้แปรงสีฟันขนแข็งชุบน้ำส้มสายชูให้ชุ่ม แล้วนำไปขัดบริเวณที่คราบดำ ก่อนใช้น้ำเปล่าทำความสะอาดตามอีกครั้ง แต่ไม่แนะนำให้ใช้กับกระเบื้องหินอ่อนและหินแกรนิต เพราะน้ำส้มสายชูมีฤทธิ์ในการกัดกร่อนสูง อาจทำให้กระเบื้องและยาแนวเสียหายได้ 
  • ผสมน้ำยากำจัดเอง : ผสมน้ำยาโดยการนำน้ำมะนาว น้ำแร่ น้ำส้มสายชู และผงฟอกขาวหรือแอมโมเนียมาผสมกัน แล้วราดลงไปบนยาแนวและทิ้งไว้สักครู่ จากนั้นใช้แปรงขัดออก พร้อมกับทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาด เชื้อราก็จะค่อย ๆ หลุดออกไปจนเกลี้ยง  
  • ใช้น้ำยาทำความสะอาดร่องยาแนวโดยเฉพาะ : หากต้องการวิธีที่ง่ายและสะดวกที่สุด การใช้น้ำยาทำความสะอาดร่องยาแนวโดยเฉพาะจะช่วยประหยัดเวลาในการทำความสะอาดไปได้มากเลยทีเดียว และช่วยให้ร่องยาแนวขาวเหมือนตอนปูกระเบื้องเสร็จใหม่ ๆ โดยสามารถเทลงบนยาแนวได้โดยตรง ไม่ต้องผสมน้ำ แล้วทิ้งไว้ 2-3 นาที หากคราบสกปรกยังออกไม่หมดก็เทน้ำยาซ้ำลงไปอีก แล้วใช้แปรงสีฟันหรือฟองน้ำเช็ดคราบสกปรกออก จากนั้นก็ทำความสะอาดพื้นตามปกติได้เลย 

ช้อปปิ้งสินค้า ยาแนว ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับ ไทวัสดุ 

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่ายยาแนว ยาแนวกระเบื้อง ยาแนวจระเข้ กาวยาแนว กาวซีเมนต์ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว เลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308

อ่านเพิ่มเติม