ถังเก็บน้ำใต้ดิน
สินค้ารายการที่ 1 - 4 จาก ทั้งหมด 4 รายการ
เลือกขนาดถังเก็บน้ำให้เหมาะกับบ้าน
ซ่อนตัวช่วย
บ้าน
ระบุจำนวนคน 1-330 คน | สำรองน้ำไม่เกิน 3 วัน
ซ่อนตัวช่วย
ถังเก็บน้ำใต้ดิน
ถังเก็บน้ำใต้ดิน เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเก็บน้ำประปาที่ช่วยเก็บน้ำไว้ใช้ในยามฉุกเฉิน เช่น ระบบประปาหลักชำรุดเสียหายที่ทำให้น้ำไม่ไหล หรือไฟดับที่ส่งผลให้ปั๊มน้ำไม่ทำงาน โดยจะฝังตัวถังเก็บน้ำนั้นไว้ใต้ดินบริเวณที่โล่งที่ไม่สิ่งก่อสร้างอยู่ด้านบนหรือทับพื้นที่ติดตั้งถังน้ำใต้ดินไว้ เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้าย ทำความสะอาด เปลี่ยนหรือซ่อมแซมตัวถังใหม่ในอนาคต
หากคุณสนใจจะติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดินแล้วละก็ ควรศึกษาถึงวิธีการเลือกซื้อเบื้องต้น ที่ ไทวัสดุ ได้นำมาฝากกันในวันนี้ เพื่อช่วยให้คุณเลือกถังเก็บน้ำได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมกับการใช้งาน
ถังเก็บน้ำใต้ดิน มีกี่ประเภท
- ถังเก็บน้ำใต้ดินพอลิเอทิลีน (Polyethylene) : ซึ่งเป็นพลาสติกคุณภาพดี มีความยืดหยุ่นสูง ทนทาน ไม่ก่อให้เกิดสนิม น้ำหนักเบาทำให้ขนย้ายสะดวก บรรจุน้ำได้หลายชนิด เช่น น้ำประปา น้ำกร่อย น้ำบาดาล เป็นถังเก็บน้ำที่ผู้คนนิยมใช้กันอย่างมากในปัจจุบันตามบ้านเรือนทั่วไป รวมถึงสำนักงานต่าง ๆ
- ถังเก็บน้ำใต้ดินไฟเบอร์กลาส : ผลิตจากเส้นใยแก้วที่มีการผสมด้วยหินปูน รวมถึงสารเติมแต่งอื่น ๆ จากนั้นนำไปหลอมเหลวและขึ้นรูป ซึ่งถังเก็บน้ำจากไฟเบอร์กลาสนี้มีคุณสมบัติในเรื่องความแข็งแรงทนทาน ยืดหยุ่นสูง อายุการใช้งานยาวนาน บรรจุน้ำได้หลายชนิด เช่น น้ำประปา น้ำกร่อย ปลอดภัยจากการเกิดสนิมและตะไคร่น้ำ ส่วนใหญ่นิยมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม แต่ถึงอย่างนั้นคุณสามารถนำมาใช้งานตามบ้านเรือนได้เช่นเดียวกัน โดยควรเลือกขนาดถังให้เหมาะสม
- ถังเก็บน้ำใต้ดินแบบคอนกรีต : เป็นการสร้างที่เก็บน้ำด้วยการขุดและเทคอนกรีตเป็นบ่อสี่เหลี่ยมแบบมีฝาปิด ซึ่งข้อดีของถังเก็บน้ำนี้คือมีความแข็งแรง ลดการเกิดตะไคร่น้ำ สามารถใช้งานยาวนาน แต่ขณะเดียวกันก็มีข้อเสียตรงที่อาจมีการก่อสร้างซับซ้อนและยุ่งยาก จำเป็นต้องมีการใช้วัสดุกันซึม การสร้างถังเก็บน้ำใต้ดินรูปแบบนี้มักเหมาะกับบ้านเรือนที่มีพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือสวนเกษตรกรพื้นที่กว้าง
ข้อดีของการติดตั้งถังเก็บน้ำใต้ดิน
- ช่วยสำรองน้ำประปาไว้ใช้งานเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำไม่ไหล
- ช่วยคัดกรองตะกอนและสิ่งสกปรกที่มากับน้ำประปา ก่อนจะนำส่งให้คุณไปใช้งาน
- อุณหภูมิของน้ำค่อนข้างคงที่ เนื่องจากตัวถังไม่ค่อยโดนสภาพแวดล้อม เช่น แสงแดด ลมหนาว จากด้านบนโดยตรงเท่าไหร่นัก
- ทำให้บ้านของคุณมีพื้นใช้สอยเพิ่มขึ้น แต่ถึงอย่างนั้นก็ไม่ควรก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างทับบริเวณที่มีการฝังถังเก็บน้ำใต้ดิน เพราะยังคงจำเป็นต้องนำขึ้นมาเปลี่ยนเมื่อหมดอายุการใช้งานหรือเมื่อเกิดการชำรุดเสียหาย
วิธีการเลือกถังเก็บน้ำใต้ดิน
1. เลือกขนาดถังจากสมาชิกที่อาศัยอยู่ในสถานที่นั้น ๆ โดยมีวิธีการคำนวณดังนี้
- ยกตัวอย่างการคำนวณ : สมาชิก 5 คน x 200 ลิตร (ค่าเฉลี่ยของปริมาณการใช้น้ำภายใน 1 วัน) = 200 x 5 ก็จะได้ผลลัพธ์ 1000 ลิตร
อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการใช้น้ำของแต่ละบุคคลนั้นมักแตกต่างกันออกไป ซึ้งอาจมีการใช้น้อยหรือมากกว่า 200 ลิตร/วัน ดังนั้น ควรเลือกขนาดความจุของถังเก็บน้ำตามจำนวนสมาชิก ที่สำรองให้เพียงพอใช้ได้ใน 1 วัน
- จำนวนผู้ใช้น้ำ 1-2 คน ควรเลือก ถังเก็บน้ำ 550 ลิตร
- จำนวนผู้ใช้น้ำ 3-4 คน ควรเลือก ถังเก็บน้ำ 700-800 ลิตร
- จำนวนผู้ใช้น้ำ 5 คน ควรเลือก ถังเก็บน้ำ 800-1,000 ลิตร
- จำนวนผู้ใช้น้ำ 6 คน ควรเลือก ถังเก็บน้ำ 1,200 ลิตร
- จำนวนผู้ใช้น้ำ 7-8 คน ควรเลือก ถังเก็บน้ำ 1,500-1,600 ลิตร
- จำนวนผู้ใช้น้ำ 9-11 คน ควรเลือก ถังเก็บน้ำ 2,000-2,500 ลิตร
หากจำนวนคนมากกว่านี้ให้เลือกขนาดความจุที่มากขึ้นหรืออาจติดตั้งถังเก็บน้ำหลายถังได้ ส่วนใหญ่มักเป็นกรณีที่ติดตั้งตามสำนักงาน โรงงานอุตสาหกรรม
2. เลือกถังเก็บน้ำใต้ดินที่ผ่านมาตรฐาน มอก. เพราะเป็นการรับรองถึงคุณภาพและความปลอดภัยจากสารอันตราย เช่น ตะกั่ว ปรอท โลหะหนัก
3. การรับประกันสินค้า : ควรเลือกถังเก็บน้ำใต้ดินแบรนด์ที่มีการรับประกันสินค้า เพราะเป็นการบริการหลังการขาย เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าเมื่อถังเก็บน้ำเสียหายหรือเกิดปัญหา
โดยไทวัสดุ จำหน่ายถังเก็บน้ำใต้ดิน จากหลากหลายแบรนด์ดัง ไม่ว่าจะเป็นถังเก็บน้ำใต้ดิน DOS , WAVE , AQUALINE อีกทั้งยังมีหลายขนาดด้วยกันที่คุณสามารถเลือกได้ตามต้องการ
ช้อปปิ้งสินค้า ถังเก็บน้ำใต้ดิน ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ
สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย ถังเก็บน้ำใต้ดิน สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308
อ่านเพิ่มเติม