ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า
รายการที่ 1 - 12 จาก 12 รายการ
ฉนวน PE เมทัลไลซ์ฟิล์ม 1 ด้าน ฝ้าฉาบเรียบ M-PE รุ่น 5.(METALIZE) ขนาด 0.9 x 8 เมตร หนา 5 มม.
M-PE
ฉนวน PE เมทัลไลซ์ฟิล์ม 1 ด้าน ฝ้าฉาบเรียบ M-PE รุ่น 5.(METALIZE) ขนาด 0.9 x 8 เมตร หนา 5 มม.
รหัส: 60233249
(2)
฿
฿715
690
/EACH

ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า

ความร้อนจากแสงแดดที่กระทบกับหลังคา ผ่านฝ้าและลงมาภายในบ้าน มีส่วนที่ทำให้บ้านของเราร้อนอบอ้าว อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ซึ่งเรามักแก้ไขปัญหาด้วยการเปิดพัดลม หรือเครื่องปรับอากาศตลอดทั้งวัน จนทำให้มีค่าใช้จ่ายเพิ่มตามมา การติด ฉนวนกันความร้อน จึงอาจสามารถช่วยลดความร้อนได้เป็นอย่างดี และทำให้เรามีเวลาใช้ชีวิตกับครอบครัวหรือคนที่คุณรักภายในบ้านอย่างมีความสุขมากขึ้น 

วันนี้ทาง ไทวัสดุ จึงขอนำเกร็ดความรู้เล็กน้อยเกี่ยวกับฉนวนกันความร้อน เพื่อเป็นการประกอบการตัดสินใจในการเลือกฉนวนแต่ละประเภทได้อย่างเหมาะสมกับบ้านของทุกคนกัน 

ประโยชน์ของฉนวนกันความร้อนบนฝ้า 

ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า มักจะติดตั้งไว้บนแผ่นฝ้าเพดาน ที่ช่วยลดความร้อนหรือป้องกันไม่ให้ความร้อนจากแสงแดดในยามกลางวันผ่านลงมาในตัวบ้าน โดยจะช่วยสะท้อนให้รังสีความร้อนกลับออกไปนอกบ้านแทน ทำให้บ้านคุณมีอุณภูมิที่เย็น ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมหลาย ๆ ตัว หรือเปิดเครื่องปรับอากาศตลอดทั้งวัน  
อีกทั้งยังช่วยให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างค่าไฟหรือค่าซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้าได้มากขึ้น เพราะถ้าหากคุณยิ่งเปิดพัดลม หรือแอร์มากเท่าไหร่ในช่วงที่อากาศร้อน ก็จะยิ่งทำให้ตัวเครื่องมีการทำงานหนัก ส่งผลให้เสียเร็ว มีอายุการใช้งานสั้นลงและค่าไฟพุ่งสูง 

ประเภทของฉนวนกันความร้อนบนฝ้า 

1. ฉนวนกันความร้อนผลิตจากโพลีเอทิลีน (Polyethylene)  
ฉนวนกันความร้อนประเภทนี้ มีอีกชื่อเรียกกันคุ้นหูว่า ฉนวนโฟม จะมีลักษณะเป็นแผ่นโฟมที่มีแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ปิดทับด้านใดด้านหนึ่งหรือทั้ง 2 ด้าน สามารถช่วยป้องกันความร้อนภายนอกที่จะเข้ามาภายในบ้านหรืออาคารต่าง ๆ  
  • ข้อดี : มีอายุการใช้งานนาน ติดตั้งง่าย มีน้ำหนักเบา คงทนต่อสภาพอากาศและไม่ดูดซับความชื้นที่ส่งผลให้ฉนวนกันความร้อนนั้นเสื่อมสภาพเร็ว 
  • ข้อเสีย : หากตัวฟอยล์ที่ปิดผิวของฉนวนเกิดการหลุดลอกและมีการติดไฟที่แผ่นโฟมด้านในก็อาจทำให้เกิดการลุกลามได้  
2. ฉนวนกันความร้อนผลิตจากอะลูมิเนียมฟอยล์ (Aluminium Foil) 
จะมีลักษณะเป็นแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์ทั้ง 2 หน้า และมีความบางที่ช่วยสะท้อนรังสียูวีจากแสงแดด เหมาะสำหรับการติดตั้งบริเวณของโครงหลังคามากกว่าบนฝ้าและควรใช้ร่วมกันกับฉนวนกันความร้อนประเภทอื่น ๆ ด้วย เช่น ใช้ฉนวนอะลูมิเนียมติดบริเวณโครงหลังคาและใช้ฉนวนใยแก้วติดบริเวณเพดานฝ้า  
  • ข้อดี : มีประสิทธิภาพที่ช่วยสะท้อนความร้อนได้สูง ทนความชื้นได้ดี ไม่มีสารระคายเคืองที่เป็นพิษต่อคน เมื่อเกิดอัคคีภัยฉนวนนี้จะไม่ส่งผลให้ไฟลุกลาม มีความเหนียวที่ทนต่อแรงดึงและไม่ฉีกขาดง่าย  
  • ข้อเสีย : ไม่มีคุณสมบัติการกันเสียงและถึงแม้ว่าจะช่วยสะท้อนความร้อนแต่อาจไม่ได้ช่วยป้องกันความร้อนเข้าบ้านได้อย่างเพียงพอ 
3. ฉนวนกันความร้อนผลิตจากใยแก้ว (Fiberglass) 
ฉนวนกันความร้อนใยแก้ว เกิดจากการหลอมละลายของแก้วซิลิกา (Silica glass) และมีโครงสร้างที่เป็นลักษณะมีรูพรุนเล็ก ๆ อีกทั้งยังประกบด้วยแผ่นฟอยล์ด้านล่างที่มีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้ความร้อนด้านในฉนวนออกมาแล้วเข้าสู่ตัวบ้าน เหมาะสำหรับการติดตั้งบริเวณโครงหลังคาและฝ้าเพดาน  
  • ข้อดี : ติดตั้งง่าย น้ำหนักเยา ทนทาน ทนความร้อนสูง ลดปริมาณความร้อนเข้าสู่ภายในบ้านหรืออาคาร ช่วยกันเสียงรบกวน วัสดุไม่ลามไฟ มีความยืดหยุ่น และป้องกันแมลงหรือเชื้อราได้ดี 
  • ข้อเสีย : ค่อนข้างมีความหนามาก และอาจทำให้มีละอองขนาดเล็กหลุดออกเมื่อฉนวนเสื่อมสภาพ ซึ่งไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ที่เป็นภูมิแพ้ 
4. ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทน โฟม (Polyurethane Foam) 
ฉนวนกันความร้อนโพลียูรีเทน โฟม มีอีกชื่อเรียกว่า โฟมเหลือง ซึ่งเป็นฉนวนที่ช่วยป้องกันความร้อนได้ดีอย่างมาก เหมาะสำหรับการติดตั้งในโรงงานอุตสาหกรรม ปัจจุบันมีในรูปแบบแผ่นสำเร็จรูปที่มาพร้อมกับกระเบื้องหลังคาหรือแบบโฟมฉีดพ่นบนวัสดุ เช่น แผ่นหลังคา ฝ้าเพดาน และผนังห้อง 
  • ข้อดี : ตัวฉนวนสามารถยึดเกาะได้กับทุกพื้นผิวที่ต้องการติดตั้งไม่ว่าจะเป็น กระเบื้อง สังกะสี อะลูมิเนียม คอนกรีต และเหล็ก อีกทั้งยังป้องกันน้ำรั่วซึม ความร้อนจากแสงแดด ป้องกันเสียงรบกวน 
  • ข้อเสีย : อาจก่อให้เกิดการติดไฟเมื่อมีอัคคีภัยแต่จะไม่เกิดการลุกลามอีกทั้งยังอาจส่งผลให้เกิดควันพิษ 
5. โพลีสไตรีน โฟม (Polystyrene Foam) 
สามารถเรียกอีกชื่อได้ว่า โฟมขาว ที่มีทั้งแบบแยกแผ่นและแบบยึดติดกับแผ่นยิปซัมที่ติดตั้งบริเวณผนังหรือฝ้าเพดานโดยไม่จำเป็นต้องใช้ฉนวนประเภทอื่น ๆ เพิ่มเติม ส่วนใหญ่มักจะติดตั้งในระหว่างการสร้างบ้าน 
  • ข้อดี : มีน้ำหนักเบา ทนต่อแรงกดทับได้ดี ไม่ดูดซับความชื้น  
  • ข้อเสีย : สามารถติดไฟและลามไฟได้ง่าย ดัดงอหรือปรับรูปแบบไม่ได้ เพราะอาจทำให้เกิดการแตกหัก 

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการติดตั้งฉนวนกันความร้อนบนฝ้า 

  • สำรวจพื้นที่บนฝ้าเพดานของบ้านที่ต้องการติดตั้ง ซึ่งควรระวังการติดตั้งบริเวณที่มีน้ำรั่วจากหลังคาหรือมีความชื้นสูง เพราะหากฉนวนกันความร้อนดูดซับความชื้นมากเกินไปอาจเสื่อมสภาพได้ไวและทำให้เปลี่ยนบ่อยครั้ง 
  • การติดตั้งฉนวนกันความร้อนอาจเพิ่มน้ำหนักของฝ้าและเพดานมากขึ้น จึงควรสำรวจหรือให้ผู้เชี่ยวชาญมาตรวจเช็กแผ่นฝ้าที่ต้องการปูฉนวนทับ เพื่อให้รองรับน้ำหนักได้ดี ป้องกันฝ้าถล่มลงมาในอนาคต
  • สำหรับบ้านที่มีการติดตั้งสายไฟเหนือฝ้าขึ้นไป ควรร้อยสายไฟผ่านฉนวนและติดตั้งให้เป็นระเบียบ 
  • ควรแกะหรือคลี่ฉนวนกันความร้อนอย่างระมัดระวังไม่ให้เกิดรอยขีดข่วนหรือฉีกขาด ไม่เช่นนั้นคุณภาพของฉนวนในการป้องกันความร้อนอาจลดลงและมีอายุการใช้งานสั้น 
เนื่องจากฝ้าเพดานเป็นพื้นที่สูงจึงควรใช้บริการผู้เชี่ยวชาญมาช่วยติดตั้ง สำหรับผู้ที่ต้องการติดตั้งเองหรือเคยติดตั้งฉนวนกันความร้อนมาก่อนควรแต่งกายให้เหมาะสม สวมเสื้อผ้าให้มิดชิด สวมถุงมือ หน้ากากอนามัย แว่นตาและหมวกนิรภัย อีกทั้งควรชำระร่างกายให้สะอาดหลังจากการติดตั้ง  

ชอปปิงสินค้า ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ 

สัมผัสประสบการณ์ชอปปิงสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย ฉนวนกันความร้อนบนฝ้า ฉนวนกันความร้อนใต้หลังคา ฉนวนกันเสียง และอุปกรณ์ติดตั้งฝ้าและผนัง ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308  

อ่านเพิ่มเติม