หมวกนิรภัย มีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไร ให้เหมาะสม
ในชีวิตประจำวันและการทำงาน เราต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากอุบัติเหตุอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานในพื้นที่เสี่ยงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับศีรษะ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย และหนึ่งในอุปกรณ์ป้องกันที่ขาดไม่ได้ในขณะที่คุณกำลังปฏิบัติงานนั้นก็คงจะไม่พ้น หมวกนิรภัย นั่นเอง โดยอุปกรณ์นี้มีบทบาทสำคัญในการปกป้องศีรษะของเราจากการกระแทก หรือวัตถุหล่นใส่ รวมถึงลดการบาดเจ็บที่อาจกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เช่น กระดูกต้นคอ กระดูกบริเวณไหล่ แต่จะเลือกซื้ออย่างไรให้ตอบโจทย์มากที่สุด วันนี้ เราจึงขอพาทุกคนไปทราบถึงประเภทของหมวกนิรภัย เพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกได้ง่ายยิ่งขึ้นกันครับ
ส่วนประกอบของหมวกนิรภัย
- เปลือกหมวก : ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุที่แข็งแรงและทนทาน เช่น พลาสติก ABS หรือไฟเบอร์กลาส ซึ่งจะมีหลากหลายขนาดให้เลือกสรรตอบโจทย์ต่อรูปทรงศีรษะของคุณ
- ปีกหมวก : เป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากด้านหน้าของหมวก มีหน้าที่หลักในการป้องกันแสงแดด ฝุ่นละออง เศษวัสดุ ไม่ให้กระทบใบหน้าและดวงตาโดยตรง บางแบรนด์หรือบางรุ่นอาจไม่มีปีกหมวกแต่จัมีขอบนูนโดยรอบขึ้นมาแทน
- สายรัดคาง : มักผลิตจากไนลอนหรือโพลีเอสเตอร์ ซึ่งสามารถปรับระดับความแน่นขณะสวมใส่และปรับสายให้ให้สั้นยาวตามรูปทรงของใบหน้า ป้องกันไม่ให้หมวกหลุดจากศีรษะขณะปฏิบัติงาน
- สายรัดศีรษะ : เป็นส่วนสำคัญที่ช่วยให้หมวกนิรภัยอยู่ติดกับศีรษะเพื่อป้องกันอันตรายหรือลดการบาดเจ็บรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการทำงาน ผลิตจากทำวัสดุที่ไม่บาดผิวหนัง เช่น ไนลอน โพลีเอสเตอร์
- สเวตแบนด์ : หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า วงรอบศีรษะ เป็นส่วนประกอบที่อยู่ด้านในของหมวกนิรภัย ซึ่งสัมผัสโดยตรงกับผิวหนังศีรษะของคุณ มีหน้าที่หลักในการดูดซับเหงื่อและความชื้นที่เกิดขึ้นขณะทำงาน ลดการเสียดสี ทำให้ศีรษะรู้สึกเย็นสบายและลดการระคายเคือง
ประเภทของหมวกนิรภัย
ปัจจุบันหมวกนิรภัยมีหลากหลายประเภทให้เลือกใช้ ซึ่งแต่ละประเภทถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองความต้องการในการใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกหมวกนิรภัยที่ไม่ถูกต้องกับงานของคุณอาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ ดังนั้น การทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของหมวกนิรภัยก่อนเลือกซื้อใช้งานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง โดยประเภทของหมวกนิรภัยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ นั่นก็คือ รูปทรง และ ระดับชั้นคุณภาพ เรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง
รูปแบบของหมวกนิรภัย
- หมวกนิรภัยชนิดปีกรอบใบ : โดยลักษณะของหมวกรูปแบบนี้จะมีขอบหมวกยื่นออกมารอบตัวหมวกซึ่งจะมีทั้งในรูปแบบยื่นออกมาเพียงเล็กน้อยและยื่นออกมาเป็นวงกว้าง ซึ่งจะช่วยป้องกันเศษฝุ่นหรือวัตถุที่ตกหล่นได้ทุกทิศทาง ส่วนใหญ่ช่างไฟฟ้า ช่างประปา หรือช่างเทคนิคอื่น ๆ มักนิยมใช้งาน
- หมวกนิรภัยชนิดมีปีกด้านหน้า : จะมีลักษณะเฉพาะที่สังเกตได้ชัดคือมีปีกของหมวกยื่นออกมาเฉพาะด้านหน้า โดยด้านข้างหรือรอบ ๆ หมวกอาจเป็นขอบนูนขึ้นมาหรือเป็นขอบแบนราบ ซึ่งหมวกรูปแบบนี้จะมีส่วนช่วยป้องกันเศษวัสดุกระเด็นเข้าดวงตาและใบหน้าโดยตรง เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานซ่อมแซมถนน เป็นต้น
- หมวกนิรภัยชนิดมีกระบังหน้า : คล้ายกับหมวกนิรภัยปีกหน้าแต่จะมีกระบังหน้าเพิ่มเติมลงมา เปรียบเสมือนแว่นตานิรภัยที่จะช่วยป้องกันเศษฝุ่นละออง เศษวัตถุ กระเด็นกระทบใบหน้าและดวงตาโดยตรง บางแบรนด์มีการคิดค้นให้เลนส์กระบังหน้ามีการป้องกันรังสียูวี เพิ่มความคมชัดขณะทำงานซึ่งจะสังเกตได้จากสีของเลนส์ เช่น สีดำ สีเขียว ฯลฯ เหมาะสำหรับงานก่อสร้าง งานในโรงงานอุตสาหกรรม งานดับเพลิง งานเชื่อม เป็นต้น
ระดับชั้นคุณภาพของหมวกนิรภัย
หมวกนิรภัย มักจะถูกจัดกลุ่มตามมาตรฐานความปลอดภัยให้อยู่ในระดับหรือคลาสต่าง ๆ ตามประเภทของงานและระดับความเสี่ยง เพราะเป็นสิ่งที่บ่งบอกถึง ประสิทธิภาพ ของหมวกนิรภัยในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน โดยสมารถสังเกตได้บริเวณเปลือกหมวกหรือด้านในปีกหมวก ซึ่งแต่ละ Class นั้นจะมีคุณสมบัติและการป้องกันที่แตกต่างกันไป ดังนี้
- หมวกนิรภัยชั้นคุณภาพ Class G : ย่อมาจาก General เป็นชั้นคุณภาพของหมวกนิรภัยที่มีคุณสมบัติลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงต่ำ โดยต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ 2,200โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 1 นาที ป้องกันค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน ค่าเฉลี่ยของการรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านต้องอยู่ที่ไม่เกิน 3,781 นิวตัน เหมาะสำหรับในการก่อสร้างและงานอุตสาหกรรมทั่วไป
- หมวกนิรภัยชั้นคุณภาพ Class E : ย่อมาจาก Electrical ชั้นคุณภาพนี้มีคุณสมบัติลดอันตรายจากไฟฟ้าแรงสูง ต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ 20,000 โวลต์ ที่ความถี่ 50 Hz เป็นเวลา 3 นาที ป้องกันค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน ค่าเฉลี่ยของการรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านต้องอยู่ที่ไม่เกิน 3,781 นิวตัน เหมาะสำหรับใช้งานซ่อมบำรุงไฟฟ้า งานเชื่อมโลหะ
- หมวกนิรภัยชั้นคุณภาพ Class B : ย่อมาจาก Bump มีคุณสมบัติป้องกันอันตรายจากแรงกระแทกและการเจาะจากวัตถุที่ตกลงมา รวมถึงยังสามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าในระดับสูงสุด โดยที่ต้านทานแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับได้ 20,000 โวลต์ เหมาะสำหรับงานซ่อมแซมระบบไฟฟ้า ติดตั้งระบบไฟฟ้า งานบำรุงรักษาเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
- หมวกนิรภัยชั้นคุณภาพ Class C : หมวกนิรภัยในระดับชั้นนี้ที่ไม่สามารถทนแรงดันไฟฟ้าได้ เนื่องจากวัสดุมักผลิตจากโลหะ ป้องกันค่าแรงกระแทกสูงสุดที่ส่งผ่านหมวกไม่เกิน 4,448 นิวตัน ค่าเฉลี่ยของการรับแรงกระแทกที่ส่งผ่านต้องอยู่ที่ไม่เกิน 3,781 นิวตัน เหมาะสำหรับการนำไปใช้ป้องกันสารเคมีมากกว่า เช่น งานขุดเจาะน้ำมัน โรงกลั่นน้ำมัน แก๊ส
- หมวกนิรภัยชั้นคุณภาพ Class D : หมวกนิรภัยที่มีคุณสมบัติในการทนความร้อนสูง มักทำด้วยพลาสติกหรือไฟเบอร์กลาส เมื่อติดไฟแล้วอาจทำให้ดับได้เอง นิยมใช้ในงานดับเพลิง
แต่ไม่ว่าหมวกนิรภัยจะทนต่อแรงดันไฟฟ้าและการรับแรงกระแทกมากเพียงใด ก็ไม่ควรประมาทระหว่างที่คุณปฏิบัติงานและนอกจากประเภททั้งในรูปแบบของหมวก ระดับชั้นคุณภาพแล้ว ยังมีสีของหมวกนิรภัยที่เป็นปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อหมวกอีกด้วย ซึ่งหลายคนอาจมองเป็นเพียงความสวยงามหรือตามความชอบผู้สวมใส่ แต่หากรู้ความหมายของหมวกแต่ละสีแล้ว ขอบอกเลยว่ามีการแบ่งสัดส่วนและการใช้งานที่เป็นระเบียบ ช่วยเพิ่มความเข้าใจของคนทำงานในหมู่มากไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานก่อสร้าง งานในโรงงานอุตสาหกรรม เพราะจะเป็นสัญลักษณ์ที่บอกถึงหน้าที่และตำแหน่งได้ชัดเจน สะดวกต่อการวางแผนงาน การแก้ไขปัญหางาน รวมถึงเป็นการแจ้งเตือนภัยให้กับผู้คนทั่วไประมัดระวังตนเองขณะผ่านสถานที่ที่ปฏิบัติงานได้อีกด้วย
ดูแลรักษาหมวกนิรภัยอย่างไร ให้ใช้งานได้ยาวนาน
- สามารถทำความสะอาดได้ด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อโรค อย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 - 3 ครั้ง หรือเป็นประจำทุกวันหลังใช้งาน โดยเฉพาะบริเวณแถบซับเหงื่อ อีกทั้งควรใช้ฟองน้ำหรือผ้าขนนิ่มในการนำมาขัดถู พร้อมกับเช็ดให้แห้งสนิทและตากในที่ร่มหรืออากาศถ่ายเทสะดวก
- ไม่ควรใช้สารเคมีหรือสารละลายทำความสะอาดหมวกนิรภัย เพราะจะทำให้วัสดุภายในเสื่อมสภาพเร็วกว่าปกติ ลดประสิทธิภาพการป้องกันศีรษะ
- ไม่ควรเก็บหมวกนิรภัยไว้กลางแดดหรือพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูง เพราะจะทำให้วัสดุพลาสติกเสื่อมสภาพเร็ว ลดความแข็งแรงและความคงทน
- ไม่โยนหมวกนิรภัยจากที่สูง และหลีกเลี่ยงการวางของหนักบนหมวก ถึงแม้ว่าหมวกนิรภัยจะมีความแข็งแรงระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่ควรโยนและนำขจองหนักไปวางทับบ่อยครั้ง เพราะอาจทำให้หมวกแตกหรือเสื่อมสภาพได้เร็วขึ้น
- ตรวจสอบสภาพโดยรอบหมวก ไม่ว่าจะเป็นรอยแตกร้าว สายรัดคาง สายรัดศีรษะ โดยเฉพาะก่อนสวมใส่ปฏิบัติงาน เพราะอาจบ่งบอกถึงการเสื่อมสภาพของหมวกนิรภัย
ช้อปปิ้งสินค้า หมวกนิรภัย ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ
สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย หมวกนิรภัย สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308