อุปกรณ์ป้องกันเสียง มีกี่ประเภท แบบไหนตอบโจทย์สุด
ในยุคปัจจุบันที่เราต้องเผชิญกับเสียงดังจากสิ่งแวดล้อมรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเสียงจากการจราจร เสียงจากโรงงาน หรือแม้แต่เสียงจากเครื่องดนตรี เพราะการที่เสียงดังมากเกินไปสามารถทำลายประสาทหูได้ ส่งผลให้เกิดภาวะหูตึง หรือสูญเสียการได้ยินในที่สุด อุปกรณ์ป้องกันเสียง จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ที่ต้องทำงานหรือใช้ชีวิตอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีเสียงดัง เพื่อปกป้องหูและรักษาการได้ยินให้คงอยู่ไปนาน ๆ
อุปกรณ์ป้องกันเสียง มีกี่ประเภท
การเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันเสียงที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพในการป้องกันเสียงที่ดีที่สุดและปกป้องหูของคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรามาดูกันดีกว่าว่าอุปกรณ์ป้องกันเสียงมีกี่ประเภท แต่ละประเภทก็มีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันอย่างไรบ้าง
1. ที่อุดหู (Ear plugs) : เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคลชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาเพื่อสอดเข้าไปในรูหู เพื่อลดระดับเสียงที่เข้าสู่หูชั้นใน ช่วยป้องกันความเสียหายต่อประสาทหูที่อาจเกิดจากเสียงดังเกินไป ซึ่งส่วนใหญ่มีอยู่ 3 รูปแบบหลัก ๆ ได้แก่
- แบบยืดหดหรือปั้นเข้ารูป (Formable Earplugs) : เป็นที่อุดหูชนิดหนึ่งที่ทำจากวัสดุอ่อนนุ่ม เช่น โฟม หรือซิลิโคน มีทั้งแบบสายและไม่มีสาย ซึ่งสามารถปรับตามรูปตามสรีระของรูหูแต่ละบุคคลได้ ทำให้รู้สึกกระชับและสบายในการสวมใส่ โดยตัวอุดมีความยืดหยุ่นมากทำให้บีบและสวมเข้าไปในรูหูได้โดยไม่รู้สึกเจ็บและตัวอุดจะทำการขยายหรือคืนทรงกลับให้พอดีกับรูหูภายใน เหมาะสำหรับการนำไปใช้ในงานทั่วไปและชีวิตประจำวันไม่ว่าจะเป็น งานช่าง งานก่อสร้าง ระหว่างการเดินทางไกล ต้องการเสียงเบายามพักผ่อน อ่านหนังสือและทำงาน เแต่ขณะเดียวกันก็อาจมีข้อเสียเล็กน้อยที่เสื่อมสภาพง่ายเมื่อใช้งานบ่อยครั้ง มีการสะสมของฝุ่นรวดเร็วกว่า ซึ่งควรล้างและเช็ดทำความสะอาดเป็นประจำ
- แบบสำเร็จรูป (Pre-Molded Earplugs) : ผลิตจากซิลิโคน หรือ เทอร์โมพลาสติก มีลักษณะเป็นก้านยาวยื่นออกมาเพื่อให้คุณจับในการดึง-สอดเข้ารูหูได้ถนัดมือ สามารถนำมาทำความสะอาดกลับมาใช้งานได้หลายครั้ง แต่ขณะเดียวกันก็อาจมีความยืดหยุ่นน้อย ไม่สามารถปรับขนาดให้เท่ากับรูหูของผู้ใช้บางราย ทำให้อาจสอดเข้าไปได้เพียงรูชั้นนอกหรืออาจมีการเด้งหลุดออกมาได้ ดังนั้น จึงเหมาะกับผู้ใช้งานในระยะสั้น
- แบบสั่งทำโดยเฉพาะ (Custom Earplugs) : เป็นที่อุดหูที่ทำขึ้นตามแบบหูของแต่ละบุคคล เพียงชิ้นเดียวประจำตัว ปัจจุบันเริ่มได้รับความนิยมอย่างมากเพราะคุณจะได้ความพอดีตามสรีระรูหูของคุณ ไม่หลุดง่าย สามารถออกแบบลวดลายที่อุดหูเองได้ตามชอบ อายุการใช้งานนานแต่ก็แลกมากับการรอเวลาในการทำนานกว่าจะได้ 1 ชิ้น มีราคาสูง เหมาะสำหรับการนำไปใช้งานได้ทั่วไปเพื่อลดเสียงรบกวน เช่น งานในโรงงาน สนามบิน ระหว่างการเดินทาง แต่มักจะนิยมใช้มากกว่ากับผู้ที่ทำงานทางด้านดนตรี
2. ที่ครอบหู (Earmuffs) : มีลักษณะคล้ายหูฟังขนาดใหญ่ที่มาพร้อมกับแถบคาดศีรษะทำหน้าที่ยึดตัวครอบหูทั้งสองข้างให้แนบสนิทกับศีรษะ และตัวครอบหูที่มีส่วนหุ้มช่วยให้ไม่บาดผิวและกดทับหู ใส่สบาย ช่วยดูดซับเสียง ลดเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี ใช้งานง่ายเพียงสวมใส่และปรับระดับให้เข้ากับหู
แต่ข้อเสียของที่ครอบหูนั้นจะทำให้คุณพกพาไม่สะดวกเท่าที่อุดหู และไม่เหมาะกับใช้งานในสภาพแวดล้อมร้อน ชื้น เป็นเวลานาน เพราะอาจทำให้รู้สึกอัดอัด รวมถึงไม่เหมาะกับงานที่ต้องใช้สมาธิ ความละเอียดและแม่นยำสูง เพราะอาจตกหล่นขณะปฏิบัติงานบดบังต่อการมองเห็นได้ จึงนิยมใช้ในงานตามสนามบิน กิจกรรมยิงปืน การตัดหญ้า งานก่อสร้างหรืองานซ่อมแซมที่ใช้เครื่องมือเสียงดังเป็นเวลาสั้น ๆ หรือชั่วขณะเท่านั้น
3. ปลั๊กอุดหูชนิดกึ่งสอดพร้อมสายคล้องคอ (Semi-insert Earplugs) : หรือที่เรียกกันว่า Ear Canal Caps เป็นอุปกรณ์ป้องกันเสียงที่คล้ายกับที่คาดศีรษะ แต่จะมีลักษณะเด่นคือมีปลั๊กอุดหูติดอยู่ปลายทั้งสองข้างของสายคล้องคอ เป็นการผสมผสานระหว่างที่อุดหูแบบสอดเข้าไปในรูหู (Earplugs) และที่ครอบหู (Earmuffs) นั่นเอง
ข้อดีของที่อุดหูรูปแบบนี้จะมีน้ำหนักเบา สวมใส่สบาย สามารถคล้องคอไว้ได้ขณะที่ยังไม่ต้องการใช้งาน แต่ก็อาจปิดรูหูได้ไม่สนิทหรือหลุดง่ายเมื่อทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวบ่อยครั้ง จึงนิยมนำไปใช้ในงานกิจกรรมระดับเบา เช่น นั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด ระหว่างการเดินทาง นั่งสมาธิ ช่างเย็บผ้า ช่างซ่อมรถ ช่างซ่อมเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
วิธีเลือกซื้ออุปกรณ์ป้องกันเสียง
1. ควรประเมินจากงานหรือกิจกรรมในชีวิตประจำของคุณ เพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อกิจกรรมที่ทำ
2. ตรวจสอบ ค่า NRR ย่อมาจาก Noise Reduction Rating เป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปในสหรัฐอเมริกา ที่บอกถึงอุปกรณ์ป้องกันเสียงชิ้นนั้นจะลดระดับเสียงลงได้กี่เดซิเบล เมื่อสวมใส่ในสภาวะที่เหมาะสม ยิ่งค่า NRR สูง ก็หมายความว่ายิ่งลดเสียงได้มาก ยกตัวอย่าง ที่อุดหู ค่า 30 dB ก็จะบอกถึงค่าเฉลี่ยว่าสามารถลดเสียงลงได้ 30 เดซิเบล นอกจากนี้ยังมีค่า SNR ย่อมาจาก Signal-to-Noise Ratio ซึ่งเป็นค่าที่บอกถึงการลดเสียงของอุปกรณ์ชิ้นนั้นเหมือนกัน เพียงแค่เป็นค่ามาตรฐานที่ใช้กันทั่วไปในยุโรป และมีการคำนวณต่างกัน ทำให้ค่า SNR อาจสูงว่า NRR แต่ใด ๆ ก็มีความหมายไม่ต่างกัน เช่น อุดหู ค่า 35 dB ก็จะบอกถึงค่าเฉลี่ยว่าสามารถลดเสียงลงได้ 35 เดซิเบล
3. หากทำได้ควรวัดระดับเสียงสภาพแวดล้อมที่คุณอยู่ หรือประเมินระดับเสียงเบื้องต้น เพื่อประกอบการตัดสินใจในการเลือกค่า NRR หรือ SNR ของอุปกรณ์ป้องกันเสียง เช่น สภาพแวดล้อมดัง 100 dB คุณอาจเลือกที่อุดหู NRR 40 dB ขึ้นไป เพื่อไปหักลบกับ 100 dB ซึ่งเสียงที่คุณอาจได้ยินอยู่ที่ 40-60 dB ก็เป็นได้ นอกจากนี้เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพหูแล้วคุณควรอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีระดับความดังไม่เกิน 60 เดซิเบล และอยู่ในสภาพแวดล้อมมีระดับความดัง 70-90 เดซิเบลไม่เกิน 7-8 ชั่วโมง ยิ่งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสียงดังมากคุณสามารถใช้ที่อุดหูตามด้วยที่ครอบหูตามได้ เพื่อช่วยลดเสียงได้ดีขึ้น
4. เลือกวัสดุที่สามารถทำความสะอาดง่าย เพราะการอุดหูย่อมมีแบคทีเรียหรือสิ่งสกปรกจากภายนอกและภายในสะสม จึงจำเป้นต้องทำความสะอาดทุกครั้งหลังเลิกงานและหากยิ่งเป็นบุคคลที่ใช้งานบ่อยทุกวันอาจต้องเลือกวัสดุแห้งรวดเร็ว หรือควรมีสำรองไว้หลาย ๆ คู่
ช้อปปิ้งสินค้า อุปกรณ์ป้องกันเสียง ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ
สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย อุปกรณ์ป้องกันเสียง สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308