เลือกซื้อหน้ากากเชื่อมอย่างไร ให้ปลอดภัยและเหมาะกับผู้ใช้งาน
แสงวาบหรือสะเก็ดไฟจากการเชื่อม ที่ส่งผลให้ทำลายสายตาและผิวหนัง นับว่าเป็นอุปสรรคและอันตรายที่ช่างเชื่อมทุกคนต้องเผชิญ ดังนั้นเราจึงต้องหาเกราะป้องกันใบหน้าและดวงตาที่ดีมีคุณภาพ นั่นก็คือ หน้ากากกันเชื่อม แต่ด้วยหน้ากากกันเชื่อมที่มีให้เลือกมากมายหลากหลายรูปแบบ จึงอาจทำให้การตัดสินใจเลือกเป็นเรื่องที่ยุ่งยากสำหรับ วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับหน้ากากกันเชื่อมทุกประเภท พร้อมเทคนิคการเลือกซื้อให้เหมาะสมกับงานที่คุณต้องการนำไปใช้กันครับ
หน้ากากเชื่อม คืออะไร มีกี่ประเภทกันนะ
นอกจากหมวกนิรภัย
เสื้อนิรภัย และ
รองเท้านิรภัย ที่สวมใส่เพื่อปกป้องร่างกายแล้ว หน้ากากเชื่อม ก็เป็นอุปกรณ์เซฟตี้ที่สำคัญเช่นกันที่ควรจะสวมใส่เพื่อป้องกันใบหน้าของตัวเองไม่ให้สัมผัสกับสารเคมี ความร้อน เศษโลหะ เศษฝุ่น และสะเก็ดไฟ โดยเฉพาะผู้ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานเชื่อมไฟฟ้า งานตัดพลาสม่า งานเจียรเหล็ก งานตัดเหล็ก เพราะอาจส่งผลต่อสายตา สูญเสียการมองเห็น ผิวไหม้พุพองได้
ส่วนใหญ่
หน้ากากเชื่อมจะผลิตจากวัสดุที่มีคุณสมบัติไม่ติดไฟ ทนทานต่อสารเคมี แข็งแรง แต่ยังให้น้ำหนักที่เบา เช่น พลาสติก ไฟเบอร์กลาส โลหะและมีเลนส์ผลิตจากแก้ว ซึ่งจะมีการดีไซน์แตกต่างกันไปตามความความเหมาะสมกับงาน ขนาดศีรษะ และความถนัดส่วนตัว ที่มีให้เลือกใช้งานหลากหลายรูปแบบ ดังนี้
1.หน้ากากเชื่อมแบบมือถือ : มีลักษณะโค้งตามรูปทรงของใบหน้า มีกระจกเลนส์กรองแสงระหว่างตากับจมูก มาพร้อมกับด้านจับที่อยู่ด้านล่างหรือด้านในหน้ากาก ใช้งานง่ายสะดวก เหมาะสำหรับงานเชื่อมชิ้นงานขนาดเล็ก งานเชื่อมที่ไม่มีความซับซ้อนมาก งานเชื่อมที่ต้องย้ายและเคลื่อนที่บ่อย เช่น งานเชื่อมโครงสร้าง งานซ่อมแซมทั่วไป เนื่องจากพกพาสะดวก ไม่ต้องถอด ๆ ใส่ ๆ บ่อยครั้ง
2.หน้ากากเชื่อมแบบสวมหัว : ลักษณะคล้ายกับแบบเชื่อมมือถือ แต่เปลี่ยนจากด้ามจับเป็นสายรัดศีรษะที่สามารถปรับความแน่นได้ตามต้องการให้พอดีกับขนาดศีรษะของผู้ใช้งาน เพื่อป้องกันดวงตาและใบหน้าจากสะเก็ดไฟและรังสีที่เป็นอันตราย ซึ่งหน้ากากเชื่อมประเภทนี้เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้ระยะเวลานาน และเหมาะกับพื้นที่ที่มีแสงน้อย ช่างเชื่อมทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นงานเชื่อมไฟฟ้า เชื่อมอาร์กอน เชื่อมแก๊ส หรือการเชื่อมอื่น ๆ ที่ก่อให้เกิดแสงจ้าและมีความร้อนสูง
3.หน้ากากเชื่อมแบบปรับแสงอัตโนมัติ : มีลักษณะและรูปทรงคล้ายกับหมวกกันน็อก มาในรูปแบบสวมศีรษะเต็มใบ มีสายรัดและมีจุดเด่นสำคัญที่ทำให้หน้ากากชนิดนี้แตกต่างจากหน้ากากแบบเดิมนั่นก็คือ เมื่อเริ่มการเชื่อมเลนส์ด้านหน้าจะปรับความเข้มของแสงได้เองโดยอัตโนมัติ เพื่อป้องกันแสงจ้าหรือรังสีอันตราย และเมื่อหยุดการเชื่อมเลนส์จะกลับมาใสในทันที บางรุ่นมีจอแสดงผล LCD และปุ่มปรับแสง ปุ่มปรับหน่วงเวลาติดตั้งเข้าไว้ด้วยกัน ที่ผู้ใช้สามารถปรับระดับความเข้มของแสงได้ตามความต้องการ เหมาะกับผู้ที่ทำงานต้องเผชิญกับแสงจ้าและต้องทำงานเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะงานซ่อมเครื่องจักร งานก่อสร้างอาคาร โรงงานผลิตและโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
4.หน้ากากเชื่อมแบบหนัง : ตัวโครงผลิตจากหนังแท้หรือหนังสังเคราะห์ ถูกออกแบบมาใช้สำหรับคลุมศีรษะพร้อมสายรัดศีรษะที่สามารถปรับระดับได้ เพื่อป้องกันสะเก็ดไฟ ฝุ่นละออง กลิ่นควันและรังสียูวีจากการเชื่อม และนิยมใช้เลนส์แก้วที่มีสีเข้มเพื่อกรองแสง เหมาะสำหรับการเชื่อมงานหนัก แต่จะไม่สามารถปรับแสงได้เหมือนหน้ากากปรับแสงอัติโนมัติ ทำให้มีราคาถูกกว่า
วิธีเลือกซื้อหน้ากากเชื่อม มีอะไรบ้าง ?
เมื่อคุณเลือกประเภทหน้ากากเชื่อมที่ตอบโจทย์ในข้างต้นเรียบร้อยแล้ว คุณควรพิจารณาจากรายละเอียดอื่น ๆ ร่วมด้วย เรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าว่าการที่จะเลือกซื้อหน้ากากเชื่อมดี ๆ สักใบ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง
1. ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล ANSI Z87.1 ของสถานบัน American National Standards Institute ที่กำหนดให้หน้ากากเชื่อมมีประสิทธิภาพการปกป้องอย่างเต็มที่และเพียงพอแก่ผู้ที่สวมใส่ ซึ่งจะต้องผ่านการทดสอบอย่างเข้มงวดว่าสามารถป้องกันรังสีอัลตราไวโลเลต อินฟาเรด แรงกระแทกได้ดีหรือไม่ รวมถึงมาตรฐาน EN 175 ครอบคลุมข้อกำหนดทั่วไปสำหรับโครงสร้างและประสิทธิภาพของหน้ากากสำหรับการเชื่อม ป้องกันรังสีจากแสง ความเสี่ยงทางกายภาพ และ มาตรฐาน EN 379 ที่เกี่ยวข้องเป็นพิเศษกับเลนส์การเชื่อมแบบลดแสงอัตโนมัติ โดยให้รายละเอียดข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะเชิงแสง ความเสถียร และเวลาตอบสนอง ซึ่งเป็นมาตรฐานยุโรปเพื่อความปลอดภัย ให้การปกป้องที่เพียงพอแก่ผู้ใช้งาน
2. ควรเลือกขนาดความกว้างของเลนส์ที่เหมาะสม ยิ่งเลนส์ที่มีความกว้างมากก็จะช่วยเพิ่มมุมมองในการมองเห็นและได้ความละเอียดของงานที่ดีกว่า แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับงานที่คุณนั้นทำร่วมด้วย หากเป็นงานเชื่อม งานเจียรที่มีความละเอียดสูงการเลือกขนาดเลนส์กว้างก็อาจส่งผลดีต่อชิ้นงาน แต่หากเป็นงานที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดมากการเลือกเลนส์ขนาดเล็กหรือที่ไม่บดบังสายตาก็คงจะเพียงพอแล้ว เพราะยิ่งเลนส์ที่มีขนาดกว้างราคาก็เพิ่มขึ้นตามเช่นกัน
3. ความเร็วในการตอบสนองการทำงานของเลนส์เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควรคำนึง เมื่อคุณเริ่มเชื่อมแสงที่คุณมองเห็นแม้จะไม่กระทบต่อดวงตาโดยตรงก็อาจส่งผลอันตรายได้ ดังนั้น เลนส์ที่ดีควรจะเปลี่ยนสีจากเลนส์สีใส ไปเป็นสีเข้มเพื่อป้องกันแสงจ้าขณะเชื่อมได้อย่างรวดเร็ว และกลับมาใสอีกครั้งเมื่อหยุดการเชื่อม โดยเลนส์ที่มีการเปลี่ยนสีได้เร็วสามารถดูได้จากค่าที่ระบุไว้ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ ซึ่งอาจมีตั้งแต่ 1/3600 วินาที ไปจนถึง 1/20000 วินาที ยิ่งค่ามากเท่าไหร่ก็จะยิ่งดี เพราะนั่นแสดงว่าตัวเลนส์สามารถตอบสนองได้รวดเร็วนั่นเอง หากไม่มีข้อมูลแสดงบนบรรจุภัณฑ์ควรสอบถามพนักงานหรือติดต่อแบรนด์นั้น ๆ ก่อนตัดสินใจซื้อ
4. เลือกค่าเฉดสีที่ช่วยในการกรองแสง UV และอินฟาเรด ซึ่งอาจมีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 16 ขึ้นไป ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไหร่ก็จะหมายถึง เลนส์กรองแสงก็ยิ่งป้องกันรังสี UV และอินฟาเรดได้ดีขึ้น
5. สำหรับเลนส์ปรับแสงอัตโนมัติควรคำถึงแหล่งพลังงาน ซึ่งจะมีแหล่งพลังงานจากแบตเตอรี่ลิเธียมที่เหมาะกับการนำไปใช้งานได้ทุกสภาพแวดล้อม ต้องการความเสถียรการทำงานของเลนส์ ส่วนอีกแหล่งพลังงานนั้นจะมาจากแสงอาทิตย์ที่เหมาะกับการทำงานในพื้นที่โล่ง กลางแจ้ง ประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ถ้าหากเลือกหน้ากากกันแสงเชื่อมที่มีแหล่งพลังงานทั้ง 2 รูปแบบ ก็จะเพิ่มความสะดวกได้อย่างมาก
6. น้ำหนักของหมวกต้องพอเหมาะเพื่อไม่ให้คุณแบกรับน้ำหนักจากหมวกเป็นเวลานานเกินไป โยเฉพาะผู้ที่ต้องสวมใส่ในการทำงานแทบทั้งวัน เพราะอาจก่อให้เกิดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ดังนั้น หากร้านค้าอนุญาตให้ลองสวมใส่ก็ควรลองก่อนเลือกซื้อครับ
ช้อปปิ้งสินค้า หน้ากากกันแสงเชื่อม ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ
สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย หน้ากากกันแสงเชื่อม สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่
thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE
@thaiwatsadu โทร. 1308