ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
ลดการบาดเจ็บที่เท้า ด้วยการเลือกรองเท้าเซฟตี้ ที่เหมาะสม

ลดการบาดเจ็บที่เท้า ด้วยการเลือกรองเท้าเซฟตี้ ที่เหมาะสม


คุณรู้หรือไม่ว่า รองเท้าเซฟตี้แต่ละประเภทที่คุณพบเห็นถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับงานที่แตกต่างกัน ? ไม่ว่าจะเป็นการทำงานก่อสร้าง การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม การทำงานในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ หรือแม้แต่การใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างน้ำท่วม ซึ่งการเลือกซื้อรองเท้าเซฟตี้ที่ไม่เหมาะสม อาจนำพาอันตรายที่คาดไม่ถึงได้ งั้นเรามาดูไปพร้อมกันดีกว่าว่ารองเท้าเซฟตี้มีรูปแบบใดและเหมาะกับการนำไปใช้งานอย่างไร เพื่อเป็นตัวช่วยให้คุณตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายมากขึ้น

ประเภทของรองเท้าเซฟตี้


1. รองเท้าเซฟตี้พื้นฐานทั่วไป : มีทั้งในรูปแบบมีหัวเหล็กและไม่มีหัวเหล็ก มีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการสึกหรอ ป้องกันการลื่น ป้องกันการกัดกร่อน ระบายอากาศได้ดี แต่หากมีหัวเหล็กเสริมมาก็จะเพิ่มการป้องกันการกระแทกของวัตถุตกหล่นที่ก่อให้อาการบาดเจ็บ เนื่องด้วยยุคสมัยที่พัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ผลิตบางรายจึงได้เพิ่มคุณสมบัติของรองเท้าด้วยการเพิ่มความต้านทานการเจาะทะลุที่พื้นรองเท้าและทนการกัดกร่อนเข้าไปร่วมด้วยที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อเท้าในระหว่างปฏิบัติงานได้อีกขั้น นิยมใช้กับงานก่อสร้าง งานยกของ งานในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งควรประเมินจากความเสี่ยงของงานหากงานที่มีความเสี่ยงสูงควรเลือกแบบมีหัวเหล็กเสริม
2. รองเท้าเซฟตี้งานไฟฟ้า : เป็นอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่สำคัญสำหรับผู้ทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้า ถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากไฟฟ้าช็อต ที่นำไปสู่อาการบาดเจ็บสาหัสและการเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลที่ทำงานในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างเครื่องจักรไฟฟ้า หรืองานอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า โดยงตามหลักมาตราฐานรองเท้าเซฟตี้ของอเมริกา (ASTM) จะแบ่งประเภทของรองเท้ากันไฟฟ้าไว้ 4 ชนิด ได้แก่
รองเท้าเซฟตี้ชนิดต้านทานกระแสไฟฟ้า (EH) : พื้นรองเท้าทำจากวัสดุไม่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น หนังแท้ ยาง  มีคุณสมบัติทำหน้าที่เป็นฉนวนกั้นระหว่างเท้าของผู้สวมใส่กับพื้น โดยป้องกันไม่ให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายไปยังพื้นดินได้ หากเกิดเหตุการณ์ที่เท้าสัมผัสกับแหล่งกำเนิดไฟฟ้า รองเท้าจะทำหน้าที่เป็นตัวต้านทานกระแสไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านร่างกาย ช่วยป้องกันอันตรายจากการถูกไฟฟ้าช็อตหรือไฟฟ้าดูด 
รองเท้าเซฟตี้ชนิดตัวนำประจุไฟฟ้า (CD) : มีคุณสมบัติเป็นตัวนำไฟฟ้าเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าสถิต มักทำจากวัสดุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า เช่น คาร์บอน โดยวัสดุเหล่านี้จะนำไฟฟ้าสถิตสะสมอยู่บนร่างกายของผู้สวมใส่และไหลผ่านรองเท้าลงสู่พื้น นอกจากนี้ยังช่วยปล่อยประจุไฟฟ้าสถิตอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการสะสมของประจุไฟฟ้าสถิตในปริมาณมากจนเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดประกายไฟและก่อให้เกิดการระเบิดหรือการลุกไหม้ได้ในพื้นที่ที่มีสารไวไฟ
● รองเท้าเซฟตี้ชนิดสลายประจุไฟฟ้าสถิต (SD) : มีคุณสมบัติลดอันตรายจากไฟฟ้าสถิตที่เกิดกับผู้ที่สวมใส่ โดยรองเท้า SD จะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าอยู่ในช่วงที่กำหนดไว้ ทำให้สามารถสลายประจุไฟฟ้าสถิตที่สะสมบนร่างกายลงสู่พื้นได้อย่างช้า ๆ และปลอดภัย ลดความเสี่ยงจะถูกไฟฟ้าช็อต
รองเท้าเซฟตี้ชนิดฉนวนกั้นกระแสไฟฟ้า (DI) : วัสดุที่ใช้ทำรองเท้า DI ส่วนใหญ่จะทำมาจากยางที่มีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีเยี่ยม ทำให้กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านรองเท้าไปยังร่างกายของผู้สวมใส่ได้ ป้องกันอันตรายจากการสัมผัสกระแสไฟฟ้าที่พื้นที่เป็นสายตัวนำไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ที่มีกระแสไฟฟ้า
3. รองเท้าเซฟตี้ทนต่อสารเคมีและความร้อน : มักทำจากวัสดุสังเคราะห์ที่มีความทนทานต่อสารเคมีและความร้อนสูง เช่น ยางไนไตรล์ พีวีซี หรือวัสดุผสมพิเศษที่เพิ่มคุณสมบัติการทนทาน การกัดกร่อนตามแต่ละผู้ผลิตคิดค้นขึ้น เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานในสภาพแวดล้อมที่ต้องสัมผัสกับสารเคมี เช่น กรด ด่าง น้ำมัน หรือความร้อนสูง อย่างโรงงานอุตสาหกรรม โรงงานปิโตรเคมี หรือห้องปฏิบัติการ เป็นต้น 
4. รองเท้าบูทยาง : มีทั้งแบบธรรมดาทั่วไปที่คุณเคยพบเห็นผลิตจากยางโพลิไวนิลคลอไรด์ (PVC) มีความยืดหยุ่นสูง ทนทาต่อสารเคมี ป้องกันน้ำ นิยมใช้กับงานเกษตรกรรม ชาวประมง อุทกภัย หรือพื้นที่เปียกชื้น นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบเสริมหัวเหล็กช่วยป้องกันการกระแทกเมื่อมีวัตถุตกหล่น ลดอาการบาดเจ็บ โดยจะทำจากวัสดุเดียวกัน แต่อาจเพิ่มคุณสมบัติเพื่อความทนทานต่อสารเคมี น้ำมัน กรด ด่าง เข้ามา ส่วนใหญ่มักนิยมใช้กับงานก่อสร้าง งานอุตสาหกรรม งานเกษตร งานประมง งานทำความสะอาด งานที่สัมผัสกับสารเคมี
นอกจากนี้ รองเท้าผ้าใบหรือรองเท้าแตะที่เราคุ้นเคย บางคนอาจมองว่าก็เป็นประเภทรองเท้าเหมือนกัน สามารถสวมใส่ได้เช่นกัน ซึ่งจริง ๆ แล้วรองเท้าทั้ง 2 แบบ จัดเป็นรองเท้ามักจะใส่ในชีวิตประจำวันที่ใช้เพื่อช่วยปกป้องเท้าของเราไม่ให้สัมผัสกับสิ่งสกปรกที่พื้นโดยตรง ช่วยรองรับน้ำหนักเพื่อสุขภาพเท้าที่ดียามเดิน วิ่ง หรือกันลื่นเล็กน้อย ไม่ใช่รองเท้าเซฟตี้เสียทีเดียว เพราะไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยป้องกันสารเคมี ความร้อน ของตกใส่ กระแสไฟฟ้า ดังนั้น หากคุณจะเลือกรองเท้าที่ปกป้องเท้าคุณควรเลือกเป็นรองเท้าเซฟตี้เฉพาะทางข้างต้น ตามงานที่คุณทำหรือสภาพแวดล้อมที่คุณเผชิญบ่อยครั้งจึงจะเหมาะสมที่สุดครับ

เคล็ดลับการเลือกซื้อ รองเท้าเซฟตี้


1. เลือกประเภทรองเท้าเซฟตี้ให้เหมาะสมกับงาน รวมถึงเลือกขนาดที่เหมาะสมกับเท้าซึ่งควรวัดจากความยาวของเท้า เพราะบางรุ่น บางแบรนด์และบางแบบถูกออกแบบมาไม่เหมือนกัน ถึงแม้คุณจะใส่ไซต์ปกติแต่ก็อาจส่งผลให้รู้สึกรองเท้าบีบรัดและคับจนเดินมไม่สะดวก ทางที่ดีควรมีการลองสวมใส่ก่อนเลือกซื้อ
2. การรองรับมาตรฐาน มอก. ที่ต้องมีการตัดเย็บอย่างประณีต รูปร่างไม่บิดเบี้ยว ดอกยางรองเท้าสม่ำเสมอ บัวหัวรองเท้าต้องติดแน่น ความยาวเชือกเหมาะสมกับรองเท้า สำหรับแผ่นป้องกันการทะลุต้องอยู่ในพื้นรองเท้าไม่สามารถดึงออกได้ นอกจากนี้ค่าต้านไฟฟ้าต้องผ่านเกณฑ์กำหนด และอื่น ๆ ตามเกณฑ์กำหนด
3. การรับรองมาตรฐานของสหภาพยุโรป EN345 เป็นมาตรฐานต่างประเทศที่มีเครื่องหมายมาตรฐาน ISO EN20345 ซึ่งการที่รองเท้าเซฟตี้จะได้รับมาตรฐานนี้ต้องต้องมีคุณสมบัติ
● หัวรองเท้าจะต้องมีการป้องกันแรงกระแทกได้สูงถึง 200 จูล
● ผ่านการทดสอบของแรงบีบอัดได้
● วัสดุเสริมพื้นรองเท้า แผ่นรองพื้นสามารถทนต่อแรงทะลุได้อย่างน้อย 1,100N
● พื้นรองเท้าต้องทนต่อน้ำมัน สารเคมี และทนความร้อนได้อย่างน้อย 160 องศาเซลเซียสขึ้นไป
● ส่วนบนของรองเท้าต้องมีความหนาที่เพียงพอและสามารถต้านทานของการขัดสีได้ในระดับที่มาตรฐานกำหนด
นอกจากนี้ยังมีข้อบังคับให้ผู้ผลิตระบุอักษรย่อเพื่อบอกคุณสมบัติของรองเท้านิรภัย ซึ่งก่อนจะเลือกซื้อรองเท้าเซฟตี้สักคู่คุณอาจจะต้องสังเกตตัวอักษรย่อต่อไปนี้ด้วย
● S (Safety) : หมายถึงรองเท้าเซฟตี้พื้นฐาน มีการป้องกันแรงกระแทกที่บริเวณปลายเท้า
● SB (Safety Basic) : หมายถึงรองเท้ามีการป้องกันแรงกระแทกที่บริเวณปลายเท้า คล้ายกับ S แต่เป็นรองเท้าที่มีคุณสมบัติพิเศษอื่น ๆ เพิ่ม เช่น ส้นเท้าต้านไฟฟ้าสถิตได้
● SBP (SB with pierce resistant midsole) : หมายถึงรองเท้าเซฟตี้ที่มีคุณสมบัติป้องกันแรงกระแทกที่บริเวณปลายเท้า ต้านไฟฟ้าสถิต แต่มีแผ่นกันทะลุที่พื้นรองเท้า เพื่อป้องกันวัตถุแหลมคมแทงทะลุ
● S1 (SB with anti-static sole and cushioned heel area) : หมายถึงรองเท้ามีคุณสมบัติ ป้องกันแรงกระแทกที่บริเวณปลายเท้า พื้นรองเท้าต้านทานสารเคมีบางชนิด
● S1P (S1 with pierce resistant midsole) : หมายถึงรองเท้าเซฟตี้ที่มีป้องกันแรงกระแทกที่บริเวณปลายเท้า พื้นรองเท้าต้านทานสารเคมีบางชนิด แต่มีแผ่นกันทะลุที่พื้นรองเท้า เพื่อป้องกันวัตถุแหลมคมแทงทะลุเท้า
● S2 (S2 with water resistant upper) : หมายถึงรองเท้าเซฟตี้ที่มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมีบางชนิด ป้องกันแรงกระแทก แต่ส่วนบนของรองเท้าทนทานต่อน้ำ
● S3 (S3 with pierce resistant midsole) : หมายถึงรองเท้าเซฟตี้ที่มีคุณสมบัติต้านทานสารเคมีบางชนิด ป้องกันแรงกระแทก ส่วนบนของรองเท้าทนทานต่อน้ำ และมีแผ่นกันทะลุที่พื้นรองเท้า
4. การรับรองมาตรฐานรองเท้านิรภัย ANSI Z41.1 และ ASTM ซึ่งรองเท้าที่หัวของรองเท้าต้องทนต่อการถูกกระแทก หรือแรงบีบ รองเท้าจะต้องมีความทนทานเพียงพอไม่ให้มีการถูกเจาะทะลุ รองเท้าจะมีแผ่นป้องกันกระดูกเท้าส่วนบน อีกทั้งยังต้องกระจายไฟฟ้าสถิตที่เป็นส่วนทำให้เกิดการไฟดูด และต้องเป็นตัวนำไฟฟ้าให้กระจายลงสู่พื้นได้ดี 

ช้อปปิ้งสินค้า รองเท้าเซฟตี้ ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย รองเท้าเซฟตี้ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308