ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย ครบเรื่องบ้าน ถูกและดี
logo_mobile
search
เลือกสาขา
หน้าแรก
บทความ
วิธีเลือกฟิล์มกรองแสง ตัวช่วยลดความร้อนจากภายนอกสู่ภายใน อย่างมีประสิทธิภาพ

วิธีเลือกฟิล์มกรองแสง ตัวช่วยลดความร้อนจากภายนอกสู่ภายใน อย่างมีประสิทธิภาพ


หากคุณออกแบบบ้าน คอนโด อาคารสำนักงาน ที่มีดีไซน์ตกแต่งด้วยกระจกแทนกำแพงทึบ แน่นอนว่าย่อมต้องเผชิญกับแสงแดดและความร้อนที่ส่องเข้ามาโดยตรงอย่างแน่นอน ที่ส่งผลให้อุณหภูมิภายในห้องนั้น ๆ สูงขึ้น เสี่ยงการเปลืองค่าใช้จ่ายเมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศตามมา ซึ่งทางแก้ไขง่าย ๆ ก็คือ ควรมีการติดฟิล์มกรองแสงร่วมด้วย และถ้าหากยังไม่พออาจต้องมีการติดผ้าม่านกรองแสงอีกชั้น 

โดยฟิล์มกรองแสงมีให้เลือกหลายประเภทด้วยกัน  แต่ทั้งนี้คุณควรพิจารณาคุณสมบัติอื่น ๆ ที่สำคัญซึ่งเชื่อว่าหลายคนอาจไม่รู้มาก่อน งั้นเรามาดูกันดีกว่าว่านอกจากประเภทของฟิล์มกรองแสงที่คุณควรรู้ เพื่อช่วยลดความร้อนให้กับบ้านคุณได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติอะไรอีกบ้าง 

5 เหตุผลที่ควรติดฟิล์มกรองแสงให้บ้านและอาคาร

1. ป้องกันรังสีอินฟราเรดและรังสียูวี : ฟิล์มกรองแสงจะช่วยกรองรังสีอินฟราเรดและรังสียูวีที่เป็นสาเหตุหลักของความร้อนจากแสงแดดและทำให้ภายในบ้าน หรือ อาคารเย็นสบายขึ้น เพราะอินฟาเรดและรังสียูวีนี้ เมื่อสัมผัสกับผิวหนังของเราบ่อยครั้งโดยไม่มีการป้องกันอาจทำให้ผิวหมองคล้ำ เกิดริ้วรอยก่อนวัย เพิ่มความเสี่ยงมะเร็งผิวหนัง อีกทั้งยังทำให้เฟอร์นิเจอร์เสื่อมสภาพเร็วขึ้น 

2. ลดการใช้เครื่องปรับอากาศ : เมื่อฟิล์มกรองแสงมีส่วนช่วยป้องกันรังสียูวีและอินฟาเรดที่ช่วยเพิ่มอุณหภูมิภายในบ้านแล้ว สิ่งที่ตามมานั้นคือจะช่วยให้คุณลดการใช้งานเครื่องปรับอากาศ ทำให้ประหยัดพลังงานและประหยัดค่าไฟ อีกทั้งยังไม่ทำให้เครื่องใช้ไฟฟ้าทำงานหนักอีกด้วย

3. เพิ่มความเป็นส่วนตัว : ปิดกั้นสายตาผู้คนจากภายนอก เพราะฟิล์มกรองแสงบางชนิดมีคุณสมบัติในการสะท้อนแสง หรือสีทึบ ทำให้ผู้ที่อยู่ภายนอกมองเข้ามาไม่เห็นภายใน

4. ช่วยลดแสงจ้า : ฟิล์มกรองแสงสามารถช่วยลดแสงจ้าที่ส่องเข้ามาในบ้านหรืออาคาร ทำให้รู้สึกสบายตา ช่วยถนอมสายตาและป้องกันอาการเมื่อยล้าของดวงตา

5. ป้องกันเศษกระจกแตกกระจาย : ฟิล์มกรองแสงจะมีส่วนช่วยยึดเศษกระจกไว้บางส่วน ยามที่เกิดอุบัติเหตุที่ทำให้กระจกแตก ทำให้เศษกระจกแตกออกเป็นแผ่นใหญ่ ไม่กระจายตัวหรือกระจายตัวน้อย ช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ

เลือกฟิล์มกรองแสง ให้ได้คุณภาพ ควรเช็กคุณสมบัติอะไรบ้าง 

1. ค่าแสงส่องผ่าน VLT


ค่าแสงส่องผ่าน (Visible Light Trasmittance : VLT) คือ ค่าแสงสว่างที่สามารถผ่านเข้ามาในฟิล์มกรองแสงติดกระจก ซึ่งจะบ่งบอกเป็น เปอร์เซ็นต์ (%) โดยหากเป็นค่า VLT ต่ำ ก็จะทำให้แสงผ่านเข้ามาได้น้อย ทำให้บุคคลภายนอกหรือแม้แต่ตัวเองมองทัศนีภายไม่ชัดแต่ก็จะช่วยเพิ่มความเป็นส่วนตัว เหมาะกับห้องนอน หรือห้องไว้สำหรับพักผ่อน 

แต่หากเป็นค่า VLT สูง แสงก็จะยิ่งส่องผ่านเข้ามาได้มากขึ้นทำให้คุณมองเห็นทัศนียภาพได้ชัดขึ้น อีกทั้งยังทำให้ห้องสว่างเหมาะกับห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องทำงาน ห้องรับประทานอาหาร เชื่อว่าอ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจกังวลว่าถ้าเลือกเป็น เปอร์ซนต์สูง แล้วความร้อนในห้องจะสูงตามจะป้องกันความร้อนไม่ได้  ไทวัสดุขอบอกเลยว่าจริง ๆ แล้วนั้นก็มีส่วนครับ แต่ไม่ใช่ปัจจัยเดียวทั้งหมด เพราะยังมีในส่วนของวัสดุที่ผลิตฟิล์ม การเคลือบสารของแต่ละแบรนด์ รวมถึงซึ่งค่าอื่น ๆ ด้วย

2. ค่าต้านรังสีอินฟาเรด IRR


ค่าป้องกันรังสีอินฟราเรด (Infrared Light Rejection : IRR) เป็นค่าที่บ่งบอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันรังสีอินฟาเรด เนื่องจากรังสีอินฟาเรดเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่สามารถรับรู้ได้ในรูปแบบของความร้อน เมื่อแสงแดดส่องกระทบกระจก รังสีอินฟราเรดจะทำให้อุณหภูมิภายในห้องสูงขึ้น โดยบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ (%) เช่นกัน ยิ่งเลือกค่ามากก็จะยิ่งป้องกันรังสีอินฟาเรดและความร้อนได้ดี 

3. ค่าต้านรังสียูวี UVR


ค่าการป้องกันรังสียูวี (Ultraviolet Rejection : UVR) คือ ค่าการป้องกันรังสียูวี ที่เป็นอันตรายต่อผิวหนัง และ เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านโดยบอกเป็นเปอร์เซ็นต์ ตัวอย่างเช่น UVR = 70% หมายความว่าฟิล์มนี้จะป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ 70% ดังนั้น ยิ่งค่า UVR สูงฟิล์มยิ่งป้องกันรังสีอัลตราไวโอเลตได้ดี 

4. ค่าต้านความร้อน TSER

ย่อมาจาก Total Solar Energy Rejection คือ ค่าการป้องกันพลังงานแสงอาทิตย์รวม หรือ ค่าต้านความร้อน เป็นตัวเลขที่บอกถึงประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนจากแสงแดดของฟิล์มกรองแสง โดยจะนำค่า VLT ค่า IRR และค่า URV มาคำนวณรวม ถ้าผลลัพธ์ของค่าสูง แสดงว่าฟิล์มนั้นยิ่งสามารถป้องกันความร้อนได้ดี 

ยกตัวอย่าง ฟิล์มกรองแสงที่คุณเลือกนั้นมี ค่า VLT = 30%, IRR = 80%, และ UVR = 95% จากนั้นนำมาคำนวณ 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 นำเปอร์เซ็นต์ค่าของฟิล์มมา ลบด้วย 1 

  • VLT (1 - 30%) = 0.7
  • IRR (1 - 80%) = 0.2
  • UVR (1 - 95%) = 00.5

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อได้ผลลัพธ์ จากขั้นตอนแรก ให้นำมาคูณด้วย 0.44 , 0.53 , 0.03 ซึ่งเป็นค่าคงที่ที่แสดงถึงสัดส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์แต่ละชนิด

  • VLT 0.7 x 0.44 = 0.308
  • IRR 0.2 x 0.53 = 0.106
  • UVR 0.05 x 0.03 = 0.0015  

ขั้นตอนที่ 3 หลังจากขั้นตอนที่ 2 ให้นำผลลัพธ์ทั้ง 3 ค่า มาบวกกัน

  • 0.308 + 0.106 + 0.0015 ก็จะได้ค่า TSER ≈ 0.4155

5. ค่าสะท้อนแสง VLR


ค่าการสะท้อนแสง (Visible Light Reflectance : VLR) หมายถึง ค่าที่ปริมาณแสงส่องมากระทบฟิล์มแล้วถูกสะท้อนกลับ ซึ่งจะมีค่าเป็นเปอร์เซ็นต์เช่นเดียวกัน โดยปกติค่าสะท้อนแสงของฟิล์มกรองแสง อยู่ที่ประมาณ 6% - 40% ขึ้นอยู่กับปริมาณสารโลหะที่เคลือบอยู่ในตัวฟิล์มกรองแสง ยิ่งมีค่าสะท้อนแสงมาก ตัวเนื้อฟิล์มก็จะมีความมันวาวคล้ายกระจกพร้อมกะบมีการสะท้อนแสงออกมาได้มากขึ้น 

6. ค่าสัมประสิทธิ์ SHGC

เป็นค่าสัมประสิทธิ์การได้รับพลังงานแสงอาทิตย์ ที่บ่งบอกถึงปริมาณความร้อนทั้งหมดที่สามารถผ่านเข้ามาทางกระจกที่มีฟิล์มกรองแสงติดอยู่ โดยค่านี้จะแตกต่างจากค่าอื่น ๆ เพราะถ้ายิ่งมีค่าน้อยนั่นหมายความว่าจะยิ่งป้องกันความร้อนได้ดี ยกตัวอย่าง ถ้าค่า SHGC = 1.0 หมายถึง ปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านเข้ามาในบ้าน 100% แต่ ถ้าค่า SHGC = 0.15 หมายถึง ปริมาณรังสีจากดวงอาทิตย์ที่ส่องผ่านเข้ามาในบ้าน 15%

ช้อปปิ้งสินค้า ฟิล์มกรองแสง ออนไลน์ตลอด 24 ชั่วโมง กับไทวัสดุ

สัมผัสประสบการณ์ช้อปปิ้งสินค้าเพื่อบ้านบนโลกออนไลน์ได้แล้ววันนี้กับ ไทวัสดุ ศูนย์รวมสินค้าบ้านของคนไทย จำหน่าย ฟิล์มกรองแสง หลากหลายรูปแบบ ตอบโจทย์ทุกความต้องการ สั่งง่าย สะดวกรวดเร็ว และสามารถเลือกรับสินค้าที่สาขาด้วยตนเอง หรือเลือกรับสินค้าที่บ้าน บริการจัดส่งทั่วประเทศ สั่งผ่านออนไลน์ได้ที่ thaiwatsadu.com หรือติดต่อผ่านช่องทาง Chat & Shop LINE @thaiwatsadu โทร. 1308